ปลาเสือพ่นน้ำ กินอะไรเป็นอาหาร วิธีเลี้ยงในตู้ปลา ลักษณะเด่น.
ปลาเสือพ่นน้ำ คือปลาอะไร
ปลาเสือพ่นน้ำ คือ ปลาน้ำจืดไทย ที่พบมากในบึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์ ลักษณะเด่นอยู่ที่ ชอบพ่นน้ำเพื่อจับแมลงมากินเป็นอาหาร สามารถนำมาเลี้ยงเป็นปลาสวยงามในตู้ปลาได้

ชื่อวิทยาศาสตร์ ปลาเสือพ่นน้ำ
ปลาเสือพ่นน้ำ ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Toxotes siamensis Kottelat & Tan, 2018 เป็นปลาน้ำจืดของไทย ที่จัดอยู่ในสกุล Toxotes) ซึ่งอยู่ในวงศ์ปลาเสือพ่นน้ำ (Family: Toxotidae)
ปลาเสือพ่นน้ำ ยังมีชื่อท้องถิ่น ชื่ออื่นอีก คือ ปลาเสือพ่นน้ำสยาม, ปลาเสือพ่นน้ำนครสวรรค์
ชื่อสามัญ ภาษาอังกฤษ คือ Archer fish, Largescale archerfish
ถิ่นอาศัยของปลาเสือพ่นน้ำ
ถิ่นอาศัยของปลาเสือพ่นน้ำ พบในบริเวณ แหล่งน้ำจืด พบมากในบึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์ และพบตามลุ่มน้ำแม่น้ำเจ้าพระยา
ลักษณะปลาเสือพ่นน้ำ
ลักษณะเด่น
ปลาเสือพ่นน้ำ มีลักษณะเด่นอยู่ที่เป็นเป็นปลาที่มีพฤติกรรมที่เด่นและแปลก คือ ชอบพ่นน้ำเพื่อจับแมลงมากินเป็นอาหาร ปลาเสือพ่นน้ำมีสายตานั้นดีมาก สามารถมองเห็นแมลงที่เกาะซ่อนตัวอยู่ตามกิ่งไม้และพ่นน้ำไปที่แมลง
โดยจะใช้ลิ้นดันร่องในปากแล้วปิดเหงือกเพื่อเพิ่มแรงดันให้น้ำพุ่งออกจากปากใส่แมลงอย่างรวดเร็วและแม่นยำ เมื่อแมลงตกลงมาในน้ำ มันจะรีบตะคลุบกินอย่างรวดเร็ว ตาของปลาเสือพ่นน้ำสามารถหมุนในขณะมองหาเหยื่อได้ เพื่อหาจุดยิงที่ดีที่สุด สามารถพ่นน้ำได้สูง 1 – 2 เมตร
ลักษณะทั่วไป
ปลาเสือพ่นน้ำ มีลักษณะทั่วไปคือมีลักษณะลำตัวจากปลายปากกับแนวสันหลังเกือบเป็นเส้นตรง ปากกว้างเฉียงลง ลำตัวและหางสีเหลืองเข้ม มีเกล็ดขนาดเล็ก มีลายแต้มสีดำกระจายอยู่ทั่วลำตัว
ส่วนใหญ่ลายบริเวณกลางลำตัวจะลากเป็นแถบยาวลงมาจนถึงท้อง ดวงตากลมโตสายตาดีมาก สามารถมองเห็นแมลงที่เกาะซ่อนตัวอยู่ตามริมตลิ่งหรือกิ่งไม้ได้อย่างง่ายดาย
เมื่อสายตาจับจ้องดูเหยื่ออย่างมุ่งมั่น ปลาเสือพ่นน้ำจะพ่นน้ำไปที่แมลงโดยจะใช้ลิ้นดันร่องในปากแล้วปิดเหงือกเพื่อเพิ่มแรงดันให้น้ำพุ่งออกจากปากใส่แมลงอย่างรวดเร็วและแม่นยำ
เมื่อแมลงตกลงมาในน้ำ มันจะรีบตะครุบกินอย่างรวดเร็ว หากพ่นน้ำครั้งแรกพลาด ปลาเสือพ่นน้ำจะพ่นน้ำซ้ำ ๆ จนกว่าจะโดนเหยื่อ
ปลาเสือพ่นน้ำ กินอะไรเป็นอาหาร
อาหารปลาเสือพ่นน้ำ คือ กินแมลงน้ำ แพลงก์ตอน ตัวอ่อนแมลงน้ำ แต่สามารถฝึกให้ปลาเสือพ่นน้ำกินอาหารเม็ดได้นะ ขอแนะนำอาหารเม็ด Hikari Food Stick นำเข้าจากประเทศญี่ปุ่น มีคุณค่าทางสารอาหารสูง อุดมไปด้วยวิตามิน เพื่อช่วยให้ปลามีสีสันที่สวยงามขึ้น มีสารป้องกันโรคปลา ทำให้ปลาสดใส แข็งแรง ใช้แทนเหยื่อสดได้ มีความน่ากินสูง
วิธีเลี้ยงปลาเสือพ่นน้ำในตู้ปลา
ปลาเสือพ่นน้ำ สามารถนำมาเลี้ยงเป็นปลาสวยงามในตู้ปลาได้ โดยสามารถเลี้ยงในตู้ขนาดกลางตกแต่งด้วยก้อนหินและพรรณไม้น้ำ สามารถเลี้ยงและให้พ่นน้ำจับแมลงได้ โดยนำแมลงไปเกาะตามกิ่งไม้ใกล้ ๆ ตู้หรือบ่อเลี้ยง
สถานภาพของปลาเสือพ่นน้ำ
ปลาเสือพ่นน้ำ ถูกจับรวบรวมจากที่อยู่อาศัยในธรรมชาติเพื่อส่งขายต่างประเทศ ปัจจุบันสามารถเพาะขยายพันธุ์ได้ที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดนครสวรรค์
กรมประมงมีนโยบายที่จะส่งเสริมให้มีการเพาะเลี้ยงเป็นปลาสวยงามเพื่อส่งออกจำหน่ายต่างประเทศ เพื่อลดการจับจากธรรมชาติ รวมทั้งเพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรปลาสวยงามไทยให้ยังคงอยู่ต่อไป
การเพาะพันธุ์ปลาเสือพ่นน้ำ
การคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์
การแยกเพศปลาเสือพ่นน้ำสังเกตจากลักษณะภายนอก คือปลาเสือพ่นน้ำเพศผู้ลำตัวเพรียว ช่วงท้องแคบ และสีครีบก้นเป็นสีดำเข้มกว่า เพศเมียควรมีขนาดความยาวไม่น้อยกว่า 16 ซม. น้ำหนักตัวโดยประมาณ 90 กรัม อายุของพ่อแม่พันธุ์ควรมีอายุไม่น้อยกว่า 2 ปี
การผสมพันธุ์
การเพาะพันธุ์ปลาเสือพ่นน้ำ ควรใช้พ่อแม่ที่เลี้ยงไว้จนเกิดความชินต่อสภาพแวดล้อมในที่กักขังเมื่อดำเนินการคัดเลือกพ่อแม่แล้ว นำพ่อแม่มาใส่ไว้ในตู้กระจก โดยให้อากาศตลอดเวลา
ปล่อยในอัตราเพศผู้ต่อเพศเมียเท่ากับ 1:2 ซึ่งเป็นอัตราที่ให้ผลผลิตลูกปลาจำนวนมากกว่าในอัตราอื่น ๆ และไม่มีความแตกต่างในด้านต่าง ๆ เช่น จำนวนไข่ต่อแม่ อัตราการฟัก และ จำนวนตัวต่อแม่
ตู้กระจกที่ใช้ในเพาะมีขนาด 40x120x45เซนติเมตร เลี้ยงโดยให้ลูกปลามีชีวิตขนาดเล็กกินเป็นอาหาร โดยให้ 2 วันต่อครั้ง ทำการเปลี่ยนถ่ายน้ำทุก 3 วัน ในปริมาณ 1 ใน 3 ส่วนของน้ำในตู้ ซึ่งน้ำที่ใช้ในการเปลี่ยนถ่ายต้องทำการพักไว้ก่อน
และก่อนนำน้ำไปใช้ควรมีการตรวจวิเคราะห์คุณสมบัติของน้ำ และทำการปรับคุณสมบัติของน้ำโดยเฉพาะอุณหภูมิ และค่าความเป็นกรดเป็นด่าง ให้มีค่าใกล้เคียงกับคุณสมบัติของน้ำในตู้
การเปลี่ยนถ่ายน้ำต้องทำอย่างระมัดระวัง เนื่องจากปลาเสือพ่นน้ำเป็นปลาที่ตื่นตกใจง่าย และควรตั้งตู้เพาะไว้ในบริเวณที่ไม่มีเสียงดัง เพราะปลาเสือพ่นน้ำเป็นปลาที่ตื่นตกใจได้ง่าย
ในการเพาะพันธุ์ พบว่าปลาเสือพ่นน้ำเริ่มผสมวางไข่ในช่วงตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ โดยไข่เป็นประเภทไข่ลอย เมื่อแม่ปลาวางไข่ พบว่าไข่จะลอยอยู่บริเวณผิวน้ำ และกระจายเต็มตู้
ไข่มีสีขาวอมเหลืองใส ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.5 - 0.8 มิลลิเมตร และใช้เวลาการฟักไข่ประมาณ 14-16 ชั่วโมง ที่อุณหภูมิน้ำ 27-29 องศาเซลเซียส
การอนุบาลลูกปลา
เมื่อลูกปลาฟักออกเป็นตัวในระยะ 2 วันแรก ยังไม่ต้องให้อาหารลูกปลา เนื่องจากลูกปลาใช้อาหารจากถุงอาหารสำรอง (ถุงไข่แดง) ที่ติดตัวตั้งแต่เกิด และควรแยกลูกปลาออกไปอนุบาลก่อนที่ลูกปลาจะเริ่มกินอาหาร
อาหารลูกปลาในระยะแรกควรให้ โรติเฟอร์กินเป็นอาหารเนื่องจากลูกปลาที่เกิดใหม่มีขนาดเล็ก โดยมีขนาดความกว้างของปากประมาณ 210 ไมครอน ให้อาหารวันละ 3 เวลา ในปริมาณที่มากเกินพอ ตลอดระยะเวลาการอนุบาล
ไม่ควรเปลี่ยนถ่ายน้ำ เพราะลูกปลาเสือมีความไวต่อการเปลี่ยนแปลงของคุณภาพน้ำ เมื่อลูกปลามีอายุครบ 8 วัน ควรปรับเปลี่ยนอาหารเป็นพวกไรน้ำขนาดเล็ก เช่น ไรแดง
อนุบาลลูกปลาจนครบ 45 วัน ลูกปลามีลักษณะเหมือนพ่อแม่พันธุ์ ลูกปลามีความยาวประมาณ 2 ซม. ซึ่งสามารถนำไปอนุบาลต่อในบ่อดิน