ปลากัดป่า ธรรมชาติ พันธุ์พื้นเมืองไทย ปลากัดป่าแท้ มีกี่ชนิด!

ปลากัดป่า สายพันธุ์พื้นเมืองของไทย พันธุ์แท้ ในธรรมชาติของไทย สามารถแบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ ปลากัดป่ากลุ่มก่อหวอด (Bubble-nest builder) และ ปลากัดป่ากลุ่มอมไข่ หรือ กลุ่มเลี้ยงลูกในปาก (Mouth brooding)

1. ปลากัดป่า กลุ่มก่อหวอด (Bubble-nest builder)

ปลากัดป่า กลุ่มก่อหวอด (Bubble-nest builder) สายพันธุ์พื้นเมืองของไทย มีทั้งหมด 5 ชนิด คือ

1. ปลากัดป่าภาคกลางและภาคเหนือ Betta splendens

เป็นสายพันธุ์ที่มีชื่อเสียงมากที่สุด และถูกนำไปผสม คัดเลือกพันธุ์จนเกิดเป็นปลากัดสวยงามรูปแบบต่าง ๆ ส่งผล ให้ไทยเป็นที่รู้จักไปทั่วโลก

ปลากัดป่าภาคกลาง และ ภาคเหนือ Betta splendens

ปลากัดป่าภาคกลางกระจายพันธุ์ ตั้งแต่ภาคเหนือไล่ตามแนวแม่น้ำเจ้าพระยาพาดผ่านภาคกลาง มาจรดกรุงเทพฯ จังหวัดสมุทรสาครบางส่วน ภาคตะวันออก ตอนล่าง (ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด) ภาคตะวันตก และภาคใต้ตอนบน (ระนอง ชุมพร สุราษฎร์ธานี และพังงา) นอกจากนี้ ยังพบได้ในประเทศพม่าและกัมพูชาบางส่วน

รายละเอียดเพิ่มเติม

2. ปลากัดป่าภาคอีสาน Betta smaragdina

จุดเด่นของปลากัดป่าภาคอีสาน คือ เกล็ดวาวสีเขียว ปกคลุมบริเวณล่างของส่วนหัว สีลำตัวจะเป็นสีน้ำตาลแดงไล่ถึง สีน้ำตาลเข้ม ประดับด้วยเกล็ดวาวสีเขียวมรกตทั้งตัว จากการ สำรวจพบว่า ปลากัดป่าภาคอีสานมีการกระจายพันธุ์ในไทย พบเฉพาะในภาคอีสานเท่านั้น

3. ปลากัดป่าภาคใต้ Betta imbellis

แหล่งกระจายพันธุ์พบในบริเวณภาคใต้ตอนล่างตั้งแต่ จังหวัดสุราษฎร์ธานีและพังงาเป็นต้นไป จนถึงประเทศมาเลเซีย

ลักษณะโดยทั่วไปลำตัวยาวเรียว มีเกล็ดสีเขียวหรือฟ้าเข้ม หัวเป็นเขม่าดำที่แก้มมีสีเขียวเคลือบ ครีบหลังมีสีเขียวหรือฟ้า มีลายสีดำ

อาจพบปลายกระโดงมีสีแดง ปลายครีบก้นมีสีแดง คล้ายรูปหยดน้ำหรือรูปปลายหอก ครีบท้องมีสีแดง โคนครีบ มีขอบสีดำ ปลายครีบสีขาว ครีบหางเป็นทรงพัด ปลายหาง มีสีแดงคล้ายพระจันทร์เสี้ยว มักเรียกกันว่า “วงพระจันทร์”

4. ปลากัดป่ามหาชัย Betta mahachaiensis

พบได้ในประเทศไทยแห่งเดียวในโลก และเสี่ยงต่อการ สูญพันธุ์อย่างมาก จากข้อมูลพบว่าปลากัดป่ามหาชัยนี้ ถูก ารวจพบและรู้จักมานานในพื้นที่จังหวัดสมุทรสาคร มาตั้งแต่โบราณกาล แหล่งปลากัดป่ามหาชัยพบได้ในพื้นที่จังหวัด สมุทรสาคร และพบบ้างบางพื้นที่ทางฝั่งตะวันตกของกรุงเทพฯ เช่น แถบแสมดำ

ลักษณะโดยทั่วไปของปลากัดป่ามหาชัย เป็นสีเขียวอมฟ้า และสีเขียว เกล็ดรอบตัวมีความวาววับ วิธีขยายพันธุ์คือการก่อหวอดในตะโพกจาก (ง่ามที่อยู่ระหว่างลำต้นกับใบ) สำหรับที่อาศัยของปลากัดป่ามหาชัย อยู่ในน้ำกร่อยเขตมหาชัย จังหวัด สมุทรสาคร เป็นแห่งเดียวในโลก คาดว่ามีประมาณหลักหมื่นตัว

อย่างไรก็ตามจากปัญหาสิ่งแวดล้อม รวมถึงการขยายตัวของโรงงานอุตสาหกรรมในเขตมหาชัย ล้วนส่งผลทำให้ปลาชนิดนี้ใกล้สูญพันธุ์แล้ว ดังนั้น การอนุรักษ์ปลาชนิดนี้ควรเร่งขยายพันธุ์ เพราะเป็นปลาที่สวยงามของไทย มีหนึ่งเดียวในโลก

5. ปลากัดป่าภาคตะวันออก Betta siamorientalis

การกระจายพันธุ์ในภาคตะวันออก ได้แก่ จังหวัด ฉะเชิงเทรา สระแก้ว ปราจีนบุรี และบางส่วนของชลบุรี มัก อาศัยตามทุ่งนา หนองน้ำ ที่มีน้ำนิ่งหรือคลองที่มีน้ำไหลเอื่อย ลักษณะโดยทั่วไปเหมือนกับปลากัดป่าภาคใต้ ต่างกันตรงที่หัว เป็นเขม่าดำที่แก้ม อาจมีจุดหรือขีดสีแดง 1-2 ขีด หรือไม่มีก็ได้

2. ปลากัดป่ากลุ่มอมไข่ หรือเลี้ยงลูกในปาก (Mouth brooding)

ปลากัดป่ากลุ่มอมไข่ หรือเลี้ยงลูกในปาก (Mouth brooding) ปลากัดอมไข่

ปลากัดอมไข่ มีลักษณะที่ต่างจากปลากัดก่อหวอดที่มีขนาดใหญ่กว่ามาก มีส่วนหัวโต ตัวมักมีสีน้ำตาล หรือสีนวล และมีลายสีคล้ำพาดแนวยาว ในตัวผู้มีปากกว้างกว่า ริมฝีปากหนาโดยเฉพาะช่วงฟักไข่ ตัวผู้จะอมไข่หลังจากผสมแล้วในกระพุ้งแก้ม รอจนกว่าฟักเป็นตัวจึงปล่อยออกมาเลี้ยงดูข้างนอก

รายละเอียดเพิ่มเติม

ตัวผู้มักมีสีเหลือบฟ้าหรือเขียวสดใสกว่าตัวเมียที่เป็นสีน้ำตาลคล้ำ มีแถบข้างลำตัว 1-3 แถบ ขนาดโตสุด 9 เซนติเมตร กินแมลงน้ำขนาดเล็กและแพลงก์ตอนสัตว์

ปลากัดอมไข่ มีถิ่นอาศัยในลำธารขนาดเล็กและแหล่งน้ำนิ่ง ในป่า และพรุที่มีสภาพดีมาก ในภาคตะวันออกและภาคใต้ของประเทศไทย พบอย่างน้อย 7 ชนิด เช่น

ปลากัดอมไข่สีจาง Betta pallida Schindler & Schmidt, 2004 หัวค่อนข้างโต ขีดสีคล้ำ เส้นล่างสุดไม่ต่อกัน ปลายครีบหางมนเท่านั้น พบในลำธารของภาคใต้ฝั่งตะวันออก ขนาดประมาณ 4 เซนติเมตร

ปลากัดอมไข่ตะวันออก Betta prima Kottelat, 1994 คล้ายกับชนิดก่อน แต่ครีบหาง มีปลายแหลมกว่า ขีดสีคล้ำ เส้นล่างสุดต่อกันเกือบเป็นเส้นเดียว พบในลำธารของต้นน้ำบางปะกง และภาคตะวันออก อาจลงมาในที่ราบลุ่มในฤดูน้ำหลาก ขนาดประมาณ 4 เซนติเมตร

ปลากัดอมไข่กระบี่ Betta simplex Kottelat, 1994 มี 2 แบบ คือ หางมีสีเรียบ และหางมีลายดอก ซึ่งอาจเป็นคนละชนิดกัน มีลักษณะสำคัญคือ ครีบก้นและขอบครีบหางมีแถบสีดำ แก้มมีสีเหลือบฟ้า ในตัวผู้ แต่ทั้ง 2 แบบ พบเฉพาะในแหล่งน้ำซับจากเขาหินปูนของจังหวัดกระบี่เท่านั้น ขนาดประมาณ 4 เซนติเมตร

ปลากัดอมไข่พรุ, ปลากัดช้าง Betta pi Tan, 1998 เป็นปลากัดที่มีขนาดใหญ่สุด ตัวมีสีน้ำตาลคล้ำ ใต้คางมีลายดำคล้ายเครื่องหมาย pi เป็นที่มาของชื่อ พบในป่าพรุโต๊ะแดง จังหวัดนราธิวาส และอาจมี ในพรุอื่นของภาคใต้สุดถึงมาเลเซียตอนเหนือ ขนาดประมาณ 9 เซนติเมตร 

ปลากัดภูเขานราธิวาส Betta apollon Schindler & Schmidt, 2006 หัวโต ขอบเหงือก มีเยื่อบางเป็นแผ่น ลำตัวค่อนข้างเรียว แก้มมีสีฟ้าเหลือบในตัวผู้ ครีบหางมีปลายเรียวเป็นเส้นยาว พบในลำธารบนภูเขาของจังหวัดนราธิวาส ขนาดประมาณ 5 เซนติเมตร

ปลากัดหัวโม่งคอเขียว Betta pugnax Cantor, 1850 หัวโต ปากกว้าง ลำตัวค่อนข้างเรียว มีเส้นสีเทาอมเขียวพาดจากปากมาถึงแก้ม พบในลำธารบนภูเขาของจังหวัดนราธิวาส ขนาดประมาณ 5 เซนติเมตร

ปลากัดอมไข่บาลา Betta kuehnei Schindler & Schmidt, 2008 ลำตัวป้อมสั้นกว่าชนิดก่อน แก้มมีสีเหลือบฟ้าและลายดำในตัวผู้ ปลายครีบหางมน มีเส้นสั้น ๆ หรือไม่มี พบในลำธารบนภูเขา ของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฮาลา-บาลา จังหวัดนราธิวาส และในมาเลเซีย ขนาดประมาณ 5 เซนติเมตร

ปลากัดอมไข่สงขลา Betta ferox Schindler & Schmidt, 2006 ลักษณะคล้ายปลากัดภูเขา นราธิวาส แต่ขอบเหงือกไม่มีเยื่อบางเป็นแผ่น แก้มมีสีเหลือบฟ้า ใต้คางมีแถบสีดำคาด พบในลำธาร บนภูเขาของต้นลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา ขนาดประมาณ 6 เซนติเมตร (ข้อมูลปลากัดป่ากลุ่มอมไข่ โดย ดร.ชวลิต วิทยานนท์)

บทสรุปส่งท้าย

ในปัจจุบัน ปลากัดป่าได้รับความสนใจจาก ผู้เพาะเลี้ยงทั้งในและต่างประเทศ เพราะด้วยความ มีเสน่ห์จากความเป็นยอดนักสู้ ความสวยงามของรูปร่าง และสีสันที่มีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะแต่ละสายพันธุ์ โดยในปัจจุบัน ทั้งภาครัฐและเอกชนได้มีการจัดประกวด ปลากัดป่าแต่ละสายพันธุ์ ทำให้ปลากัดป่าได้รับ ความสนใจเป็นที่รู้จักและมีผู้เพาะเลี้ยงมากขึ้น ส่งผลดี ต่อการอนุรักษ์ดำรงรักษาสายพันธุ์ไว้

รายละเอียดเพิ่มเติม