ปลากระทิงไฟ (Fire eel)
ปลากระทิงไฟ ชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Mastacembelus erythrotaenia Bleeker, 1850 เป็นสัตว์น้ำในกลุ่มปลา ซึ่งเป็นปลาน้ำจืดในสกุล Mastacembelus ซึ่งถูกจัดอยู่ในวงศ์ Mastacembelidae
ปลากระทิงไฟ มีชื่อสามัญ ภาษาอังกฤษ ว่า Fire eel
ลักษณะ ปลากระทิงไฟ

Photo by : Arunee Rodloy
ลักษณะเด่น
"ปลากระทิงไฟ" มีลักษณะเด่นคือ มีรูปร่างลำตัวยาวคล้ายงู แบนข้างเล็กน้อย ลำตัวมีสีดำและแถบสีแดงพาดตามความยาวลำตัว ยกเว้นส่วนท้ายลำตัวลำตัวมีสีดำและแถบสีแดงพาดตามความยาวลำตัว ลำตัวที่มีแถบสีแดงโดดเด่น จึงมีชื่อสามัญว่า “Fire eel” เป็นปลาที่นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามทั่วโลก
ลักษณะทั่วไป
ปลากระทิงไฟ มีลักษณะลำตัวยาวคล้ายงู แบนข้างเล็กน้อย ลำตัวมีสีดำและแถบสีแดงประมาณ 4-5 แถบ พาดตามความยาวลำตัว ยกเว้นส่วนท้ายลำตัว ซึ่งแถบสีแดงจะไม่ค่อยติดต่อกันตลอดทำให้ดูมีลักษณะคล้ายจุดสีแดง ครีบหลัง ครีบหาง ครีบอก และครีบก้น มีสีดำ จะงอยปากยื่นยาว ที่ปลายของจะงอยปากมีจมูกลักษณะคล้ายท่อและมีช่องเปิดตรงปลาย เป็นปลาขนาดใหญ่ ขนาดใหญ่สุดความยาวประมาณ 1 เมตร
อาหารปลากระทิงไฟ กินอะไร
ปลากระทิงไฟ กินกุ้งและสัตว์น้ำขนาดเล็ก เป็นอาหาร
ถิ่นอาศัย
ปลากระทิงไฟ มีถิ่นอาศัยพบในแม่น้ำในภาคกลางและภาคใต้ของประเทศไทย ประเทศมาเลเซีย และอินโดนีเซีย
![]() |
ปลาหลดจุด, ปลากระทิงดำ-ลาย, ปลาหลดหางแฉก, ปลาหลดภูเขา...ขายไปแล้ว 13+ ชิ้น | ★★★★★ (1+)
|
วิธีเลี้ยงปลากระทิงไฟในตู้ปลา
การเลี้ยงปลากระทิงไฟ สามารถเลี้ยงในตู้ปลาขนาดใหญ่ ตกแต่งด้วยก้อนหินหรือขอนไม้เพื่อให้เป็นที่หลบซ่อนตัว
สถานภาพ
ปลากระทิงไฟถูกจับรวบรวมจากแหล่งที่อยู่อาศัยในธรรมชาติเพื่อส่งขายต่างประเทศ ปัจจุบันสามารถเพาะขยายพันธุ์ได้ที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดสุพรรณบุรี กรมประมงมีนโยบายที่จะส่งเสริมให้มีการเพาะเลี้ยงเป็นปลาสวยงามเพื่อส่งออกจำหน่ายต่างประเทศ เพื่อลดการจับจากธรรมชาติ รวมทั้งเพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรปลาสวยงามไทยให้ยังคงอยู่ต่อไป
การเพาะพันธุ์ปลากระทิงไฟ
เมื่อปี 2561 ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดสุพรรณบุรี ได้รวบรวมพันธุ์ปลากระทิงไฟจากแหล่งน้ำธรรมชาติบริเวณจังหวัดสุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา สมุทรสงคราม และราชบุรี นำมาเลี้ยงขุนเป็นพ่อแม่พันธุ์
จากนั้น ทำการคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์ที่มีความสมบูรณ์เพศพร้อมที่จะผสมพันธุ์วางไข่มาเพาะพันธุ์ด้วยวิธีฉีดฮอร์โมนกระตุ้น โดยแม่พันธุ์ปลาจะฉีดฮอร์โมนสังเคราะห์ร่วมกับยาเสริมฤทธิ์ 2 เข็ม ระยะเวลาห่างกันครั้งละ 24 ชั่วโมง ส่วนพ่อพันธุ์ปลาฉีดฮอร์โมนสังเคราะห์ร่วมกับยาเสริมฤทธิ์ 1 เข็ม พร้อมกับแม่พันธุ์ปลาเข็มที่ 2 โดยหลังจากฉีดฮอร์โมนประมาณ 48 ชั่วโมง จะสามารถรีดไข่จากแม่ปลาได้
ไข่ปลากระทิงไฟ มีลักษณะเป็นไข่จมติด มีสีส้ม เส้นผ่านศูนย์กลางขนาด 2.7 มิลลิเมตรประมาณ 1,450 – 2,500 ฟอง หลังจากนั้น รีดน้ำเชื้อจากพ่อพันธุ์เพื่อนำมาผสมกับไข่แล้วนำไปฟักในน้ำที่อุณหภูมิ 27 – 28 องศาเซลเซียส ใช้เวลาฟัก 56 – 57 ชั่วโมงจะได้ลูกปลาแรกฟักที่มีความยาวประมาณ 6 – 7 มิลลิเมตร
การอนุบาลลูกปลากระทิงไฟ
เมื่อลูกปลาอายุ 9 วัน ถุงไข่แดงยุบสามารถเริ่มให้ไรแดงร่อนเอาขนาดเล็กเป็นอาหาร และให้ไรแดงได้เมื่อลูกปลาอายุ 11 วัน หลังจากนั้น เมื่อลูกปลาอายุ 15 – 40 วัน สามารถพิจารณาให้ไรแดง ไรน้ำนางฟ้า หรือกุ้งฝอยขนาดเล็ก โดยพิจารณาตามขนาดของปากลูกปลาได้ตามลำดับ.