Lazada Flash Sale

โปรฟ้าผ่า!! รับซัมเมอร์

ลดแรงกว่า 90%* ช้อปเลย »

ปลาเข็มงวง (ปลาเข็มช้าง) วิธีเลี้ยงในตู้ปลา กินอะไรเป็นอาหาร..!

ปลาเข็มงวง, ปลาเข็มช้าง (Forest Halfbeak fish)

ปลาเข็มงวง (ปลาเข็มช้าง) ชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Hemirhamphodon pogonognathus Bleeker,1853 เป็นสัตว์น้ำในกลุ่มปลา ซึ่งเป็นปลาน้ำจืดในสกุล Hemirhamphodon ซึ่งถูกจัดอยู่ในวงศ์ Hemiramphidae

ปลาเข็มงวง (ปลาเข็มช้าง) มีชื่อสามัญ ภาษาอังกฤษ ว่า Forest Halfbeak fish และยังมีชื่ออื่น คือ ปลาเข็มช้าง

ถิ่นอาศัย

ปลาเข็มงวง (ปลาเข็มช้าง) มีถิ่นอาศัย พบที่พรุโต๊ะแดง จ.นราธิวาส

อาหารปลาเข็มงวง (ปลาเข็มช้าง) กินอะไร

ปลาเข็มงวง (ปลาเข็มช้าง) ลักษณะ วิธีเลี้ยงในตู้ปลา สถานภาพ Hemirhamphodon pogonognathus
photo by : Arunee Rodloy

ปลาเข็มงวง (ปลาเข็มช้าง) กินตัวอ่อนแมลงน้ำ ชอบกินแมลงที่ตกลงไปในน้ำ เป็นอาหาร

รายละเอียดเพิ่มเติม

ลักษณะ ปลาเข็มงวง (ปลาเข็มช้าง)

ลักษณะเด่น

ปลาเข็มงวง (ปลาเข็มช้าง) มีลักษณะเด่นคือ มีรูปร่างลักษณะคล้ายปลาเข็มแต่มีขนาดใหญ่กว่ามาก และมีลักษณะเด่นคือจะงอยปากล่างยาวปลายเป็นติ่งหนังที่ยาวออกงอม้วนลงคล้ายงวงช้าง จึงเป็นที่มาชื่อเรียกว่า "ปลาเข็มงวง" หรือ "ปลาเข็มช้าง" เป็นปลาที่มีการผสมพันธุ์ภายในตัวและออกลูกเป็นตัว

ลักษณะทั่วไป

ปลาเข็มงวง (ปลาเข็มช้าง) มีลักษณะคล้ายปลาเข็มแต่มีขนาดใหญ่กว่ามากและมีจะงอยปากล่างยาวปลายเป็นติ่งหนังที่ยาวออกคล้ายงวงโง้งลงด้านล่าง ใต้จะงอยปากล่างมีริ้วแผ่นหนังยาว ครีบหลังมีฐานยาว ครีบหางมีปลายมน ครีบก้นมีฐานสั้นแต่ด้านครบยาวโค้ง ครีบท้องค่อนข้างใหญ่

ตัวผู้มีขนาดใหญ่กว่าตัวเมียและมีส่วนของครีบที่ใหญ่และยาวกว่า หัวและตัวมีสีเขียวอมเหลือง ด้านหลังสีคล้ำ ตามีขอบสีฟ้าและมีแต้มสีแดงเรื่อ ครีบสีเหลืองอ่อน ครีบหลังมีขอบสีแดงคล้ำ ครีบหาง ครีบก้นมีขอบสีฟ้าเรืองแสง จะงอยปากล่างคล้ำ ตอนปลายสีดำหรือแดง ริ้วหนังใต้จะงอยปากล่างสีฟ้าหรือเหลืองมีขอบสีแดงหรือสีดำ ขนาดใหญ่สุดพบ 10 ซม.

วิธีเลี้ยงปลาเข็มงวง (ปลาเข็มช้าง)ในตู้ปลา

การเลี้ยงปลาเข็มงวง (ปลาเข็มช้าง) สามารถเลี้ยงในตู้ขนาดกลางตกแต่งด้วยก้อนหินและพรรณไม้น้ำ-

สถานภาพ

ถูกจับรวบรวมจากธรรมชาติเพื่อขายส่งต่างประเทศ ทำให้มีความเสี่ยงใกล้สูญพันธุ์ พบเฉพาะในป่าพรุโต๊ะแดง จังหวัดนราธิวาส

กรมประมงมีนโยบายที่จะส่งเสริมให้มีการเพาะเลี้ยงเป็นปลาสวยงามเพื่อส่งออกจำหน่ายต่างประเทศ เพื่อลดการจับจากธรรมชาติ รวมทั้งเพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรปลาสวยงามไทยให้ยังคงอยู่ต่อไป

อ้างอิง: กลุ่มวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสวยงามและพรรณไม้น้ำ

รายละเอียดเพิ่มเติม