Lazada 4.4

» ลาซาด้า 4.4 ลดสูงสุด 90%*

4 - 6 เมษายน นี้ เท่านั้น! (จำนวนจำกัด)

ปลาหมอสี สายพันธุ์เดิม สกุลโคปาดิโครมิส (Copadichromis)..!

ปลาหมอสี สกุลโคปาลิโครมิส (Genus Copadichromis) มีขนาดระหว่าง 10-12 เซนติเมตร จัดเป็นกลุ่มปลาที่มีขนาด ปานกลาง ส่วนใหญ่มีความยาวไม่เกิน 15 เซนติเมตร สมาชิกของปลาสกุลนี้มี รูปร่างแตกต่างกันไปตามชนิด ในช่วงนอกฤดูผสมพันธุ์วางไข่หากินรวมกันเป็น ฝูงใหญ่

ปลาหมอสี สายพันธุ์เดิม สกุลโคปาดิโครมิส(Copadichromis)

อาหารหลักของปลาสกุลโคปาติโครมิส คือ แพลงก์ตอนทั้งพืชและสัตว์ ปากของมันจึงพัฒนาให้เหมาะสมต่อการจับอาหารที่มีขนาดเล็ก โดยริมฝีปาก บนและล่างเชื่อมติดกันมีลักษณะคล้ายท่อ ซึ่งสามารถยืดและหดได้ เพื่อความ สะดวกในการจับแพลงก์ตอนเป็นอาหาร ลักษณะของปลาดังกล่าวเป็นลักษณะสำคัญประจำสกุล

ปลาหมอสี สายพันธุ์เดิม สกุลโคปาดิโครมิส(Copadichromis)
photo by J. de Lange

นอกจากนี้แล้วแพทเทิร์นของเมลานินที่พบในปลาสกุลโคปาติโครมิส มีสองลักษณะคือ เป็นแถบสีดำสองแถบอยู่กลางลำตัวหนึ่งแถบ และอีกหนึ่งแถบอยู่ที่แนวสันหลัง อีกลักษณะหนึ่งของเมลานินคือ มีลักษณะ เป็นจุดสีดำ 3 จุด อยู่บริเวณลําตัวสองจุด และทีโดนหางหนึ่งจุด แพทเทิร์นของสีส่วนใหญ่จะจางหายไปเมื่อปลาโตเต็มวัย หรือในระยะผสมพันธุ์วางไข่

ปลาหมอสี สกุล Copadichromis สายพันธุ์เดิม และสายพันธุ์ที่มีการพัฒนาลวดลายและสีสัน (Hybrid) ที่นิยมเลี้ยงและจัดประกวดในประเทศไทย ได้แก่ Red Empress, Azureus, Borleyi Kadango

รายละเอียดเพิ่มเติม

ปลาหมอสี อาซูเรียส (Azureus cichlid)

  • ชื่อวิทยาศาสตร์: Copadichromis azureus Konings, 1990
  • ชื่อการค้า: Chrysonotus Mbenji, Haplochromis Chrysonotus, Electric Blue

ปลาหมอสี อาซูเรียส (Azureus cichlid)
photo by Malawi-Amager

ลักษณะทั่วไป

ลำตัวค่อนข้างป้อมแบนข้าง แนวสันหลังโค้งนูน จะงอยปาก ถึงจุดเริ่มต้นของครีบกระโดงเป็นสโลปค่อนข้างสูงชัน ปากกว้าง จะงอยปากสั้น ปากเฉียงขึ้นเล็กน้อย นัยน์ตาโต หัวมีขนาดปานกลางและแบนข้างมาก คอดหางยาวและส่วนปลายเรียว ครีบกระโดงมีปลายเรียวยาวและส่วนปลาย สุดยาวเสมอครีบหาง ครีบก้นมีปลายเรียวยาวเช่นเดียวกับครีบกระโดง ตะเกียบยาวเลยจุดเริ่มต้นของครีบก้น ครีบอกบอบบาง

จุดเด่นของปลาตัวนี้ อยู่ที่สีของหัวและลำตัวสีน้ำเงินเข้มเป็นประกายดุจ เนื้อของโลหะ ท้องเป็นสีน้ำเงินปนดำ ปลาบางตัวมีลายสีดำพาดขวางลำตัว ปรากฏให้เห็นอย่างชัดเจน และครีบ กระโดงมีขอบสีขาวหรือเหลือง

รายละเอียดเพิ่มเติม

ปลาหมอสี เบอร์เลยี คาดันโก (Borleyi Kadango cichlid)

  • ชื่อวิทยาศาสตร์: Copadichromis borleyi (Iles, 1960)
  • ชื่อการค้า: Haplochromis Borleyi, Haplochromis Red Kadango, redfin hap, goldfin hap

ปลาหมอสี เบอร์เลยี คาดันโก (Borleyi Kadango cichlid)
photo by David Midgley

ลักษณะทั่วไป

ลำตัวค่อนป้อมแบนข้าง สันหลังสูงและไหล่กว้าง หัวค่อนข้างเล็ก นัยน์ตาค่อนข้างใหญ่ ปากเฉียงขึ้นเล็กน้อย ขากรรไกรบนยื่นออกล้ำ ขากรรไกรล่าง คอดหาง ครีบกระโดงยาวและส่วนปลายเรียวแหลมยาวเลยฐาน ครีบหาง ครีบก้นมีขนาดใหญ่ใกล้เคียงปลายครีบกระโดง

จุดเด่นคือ ครีบตะเกียบมีปลายเรียวยาวเป็นสายรยางค์ ครีบหางมีขนาด ใหญ่ปลายเว้าไม่ลึก ครีบหูบางและโปร่งใสจนเห็นก้านครีบชัดเจน ลักษณะของ สีแตกต่างกันไปตามท้องถิ่นที่อยู่อาศัย

เช่น ปลาที่จับได้จากคาดันโก ลำตัวจะ มีสีแดงอิฐ หัวสีฟ้าจาง นัยน์ตาจะมีแถบสีน้ำเงินเข้ม ครีบกระโดงมีขนาดใหญ่ ฐานครีบสีน้ำเงินดำ ขอบกระโดงสีฟ้า ครีบหางสีน้ำเงินดำเช่นเดียวกับ ฐานกระโดง ครีบก้นมีฐานสีดำน้ำเงิน ขอบสีฟ้าปนน้ำเงิน

ถ้าเป็นสายพันธุ์ที่มี ถิ่นกำเนิดอยู่ที่อ่าวเอ็มบานบา หัวและสันหลังจะเป็นสีน้ำเงินที่เป็นประกาย เมื่อถูกแสง เกล็ดที่ลำตัวมีเม็ดสีเหลืองปรากฏตามขอบ ครีบกระโดงสีน้ำเงิน ขอบสีฟ้าอ่อน ตะเกียบมีขอบสีฟ้าอ่อนตามปลายรยางค์ ครีบหางสีน้ำเงิน ปนเหลือง ขอบหางทั้งบนและล่างสีฟ้า ครีบก้นสีน้ำเงินแซมด้วยสีเหลือง

หางของปลาชนิดนี้ไม่มีลายอย่างลายนกยูง ขนาดตัวผู้มีความยาวสุด 15 เซนติเมตร ตัวเมียขนาดเล็กกว่า.

อ้างอิง: อรุณี รอดลอย, สมรัฐ สร้อยสุวรรณ. 2563. มาตรฐานสายพันธุ์และเกณฑ์การตัดสินการประกวด ปลาหมอสี สายพันธุ์เดิม ในประเทศไทย. กลุ่มวิจัยสัตว์น้ำสวยงามและพรรณไม้น้ำ; กองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด; กรมประมง

รายละเอียดเพิ่มเติม