Lazada Flash Sale

โปรฟ้าผ่า!! รับซัมเมอร์

ลดแรงกว่า 90%* ช้อปเลย »

นกขมิ้นน้อยธรรมดา,นกขมิ้นน้อยสวน Common Iora ลักษณะ!

นกขมิ้นน้อยธรรมดา (Common Iora)

นกขมิ้นน้อยธรรมดา ชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Aegithina tiphia Linnaeus, 1758 อยู่ในสกุล Aegithina จัดอยู่ในวงศ์ Aegithinidae นกขมิ้นน้อยธรรมดา เป็นสัตว์ปีกในกลุ่มนก

  • ชื่อสามัญ ภาษาอังกฤษ: Common Iora
  • ชื่ออื่น: นกขมิ้นน้อยสวน

นกขมิ้นน้อยธรรมดา เป็นนกประจำถิ่น มีขนาด 12-15 ซม.(วัดจากปลายปากตลอดลำตัวจนถึงขนหางเส้นที่ยาวที่สุด) ตัวผู้มีปากสีเทา รอบตาสีเหลืองไม่เด่นชัดนัก หัวและลำตัวด้านบนสีเขียวแกมเหลือง ลำตัวด้านล่างสีเหลืองสดกว่า ปีกสีดำและมีแถบสีขาว2แถบ หางสีดำ

ส่วนตัวเมียมีสีเขียวแทนที่บริเวณสีดำในตัวผู้ รอบตาสีเหลือง ลำตัวสีเหลืองซีดกว่าตัวผู้ ปีกคล้ำ ด้านบนปีกมีลายแถบสีขาว แต่ไม่เด่นชัดเหมือนตัวผู้ ด้านล่างปีกมีแถบสีเหลือง ลำตัวด้านล่างมีลายแต้มสีเขียว

นกขมิ้นน้อยธรรมดา กินอะไร

นกขมิ้นน้อยธรรมดา,นกขมิ้นน้อยสวน Common Iora

มักพบอยู่เป็นคู่ แต่อาจจะพบหลายคู่ที่หากินในบริเวณเดียวกันจนดูว่าคล้ายอยู่เป็นฝูงเล็กๆ ชอบกระโดดจากกิ่งหนึ่งไปยังอีกกิ่งหนึ่งเพื่อจิกแมลงเป็นอาหาร

รายละเอียดเพิ่มเติม

ช่วงฤดูผสมพันธุ์อยู่ในราวเดือนเมษายน – เดือนพฤษภาคม ทำรังเป็นรูปถ้วยเล็กๆตามง่ามไม้หรือกิ่งไม้ที่อยู่สูงจากพื้นราว 2-4 เมตร รังมีขนาด 6 ซม. วัสดุที่ใช้ทำรังประกอบด้วยต้นหญ้าและกิ่งไม้เล็กๆ โดยเชื่อมเข้าด้วยกันด้วยใยแมงมุม อาจมีใบหญ้าหรือใบไม้แห้งวางตรงกลางแอ่งเพื่อรองรับไข่

วางไข่ครั้งละ 2-3 ฟอง ขนาดไข่ 1.35 x 1.75 ซม. ไข่สีขาวแกมชมพูอ่อน และมีลายดอกดวงสีน้ำตาลแกมม่วง ทั้งตัวผู้และตัวเมียช่วยกันทำรัง ฟักไข่ และเลี้ยงดูลูกอ่อน ระยะเวลาฟักไข่ราว 14 วัน เมื่อลูกนกออกจากไข่ใหม่ๆยังไม่มีขนคลุมร่างกายและยังไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้

นกขมิ้นน้อยธรรมดา เป็นนกที่ส่งเสียงร้องได้หลายแบบ แต่แบบที่ได้ยินบ่อยที่สุดจะเป็นเสียงคล้ายนกหวีดหรือลากเสียงยาวคล้ายผิวปากต่อเนื่อง 5-8 ครั้ง ดังว่า "หวีด-วิด" โดยเสียงพยางค์แรกจะลากยาวมาก ส่วนพยางค์หลังสั้น เสียงร้องจะได้ยินไปไกลและร้องเกือบตลอดทั้งวัน โดยเฉพาะในช่วงฤดูผสมพันธุ์

ชื่อชนิด tiphia ยังไม่รู้ที่มาและความหมายที่แน่นอน ซึ่งอาจจะมาจากคำว่า Tiphys เป็นชื่อของกัปตันเรือ Argonauts ที่เป็นนิยายกรีกโบราณเกี่ยวกับการล่องเรือไปหาขนแกะทองคำ ชนิดนี้พบครั้งแรกของโลกในประเทศอินเดีย

นกขมิ้นน้อยธรรมดา ทั่วโลกมี 14 ชนิดย่อย ในเมืองไทยพบ 3 ชนิดย่อย ได้แก่

- ชนิดย่อย cambodiana B.P. Hall, 1957

ชื่อชนิดย่อยเป็นคำที่ดัดแปลงมาจากชื่อสถานที่ที่พบชนิดย่อยนี้เป็นครั้งแรกของโลก ซึ่งก็คือประเทศกัมพูชา ผู้ในช่วงฤดูผสมพันธุ์นั้นบางตัวมีสีดำที่กระหม่อมและท้ายทอย

แพร่กระจายในภูมิภาคอินโดจีน(ไทย ลาว กัมพูชา และเวียดนาม) ในไทยพบทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออก และภาคกลาง

- ชนิดย่อย horizoptera Oberholser, 1912

ชื่อชนิดย่อยเป็นคำที่มาจากรากศัพท์ภาษากรีก 2 คำ คือคำว่า horiz หรือ orizo แปลว่า แนวนอน หรือกั้นเขต และคำว่า pter,-o,=um หรือ pteron แปลว่า ปีก หรือขน ความหมายก็คือ“มีลายที่ปีก” ตัวผู้ในช่วงฤดูผสมพันธุ์มีหัวและหลังสีดำ ชนิดย่อยนี้พบครั้งแรกของโลกบนเกาะ Nias ประเทศอินโดนีเซีย

แพร่กระจายในเมียนมาตอนใต้ ไทย มาเลเซีย และอินโดนีเซีย ในเมืองไทยพบทางภาคกลางด้านตะวันตก ภาคตะวันตก และภาคใต้

- ชนิดย่อย philipi Oustalet, 1886

ชื่อชนิดย่อยเป็นคำที่ดัดแปลงมาจากชื่อบุคคล ชนิดย่อยนี้พบครั้งแรกของโลกในประเทศเวียดนาม

แพร่กระจายในจีน เมียนมาด้านตะวันออก และภูมิภาคอินโดจีน(ไทย ลาว กัมพูชา และเวียดนาม) ในเมืองไทยพบทางภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือบริเวณลุ่มน้ำโขง

นกขมิ้นน้อยธรรมดา เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตาม พรบ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2562

เทคนิคในการดูนก

  • ออกไปดูนกเวลาเช้าตรู่ก่อนที่พระอาทิตย์จะขึ้น
  • พยายามหยุดทุก ๆ 5 นาที เพื่อสำรวจดูนกรอบ ๆ ตัว รวมทั้งพยายามฟังเสียงร้องของนกด้วย
  • พยายามมองหานกตั้งแต่ระดับพื้นดิน จนถึงบนท้องฟ้า
  • พยายามส่งเสียงให้น้อยที่สุด
  • เมื่อเห็นนกด้วยตาเปล่า ควรรีบส่องกล้องสองตาดูทันที
  • เมื่อเห็นนกไม่ควรแย่งกันดู แต่ควรส่องกล้องสองตาดูนกในตำแหน่งที่แต่ละคนยืน หรือนั่งอยู่
  • ควรจดจำรายละเอียดของนกตัวนั้นให้มากที่สุด แล้วนำมาจำแนกจากหนังสือคู่มือดูนก
  • เลือกใช้อุปกรณ์ดูนก กล้องส่องทางไกลแบบสองตา (Binoculars) เป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญสูงสุดในการดูนก เพราะช่วยให้มองเห็นรายละเอียดของนกได้ในระยะไกล ขนาดของกล้องส่องทางไกลแบบสองตาที่เหมาะสมกับการดูนก มีกำลังขยายที่เหมาะสม ภาพไม่แคบจนเกินไป น้ำหนักเบา เหมาะมือ ราคาไม่แพง

อ้างอิง: Natureman Thaimountain

รายละเอียดเพิ่มเติม