✓โรคผิวหนังในสุนัข อาการ เกิดจากสาเหตุ มีอะไรบ้าง วิธีรักษา!
โรคผิวหนังในสุนัข สาเหตุของการเกิดโรคผิวหนังในสุนัข การตรวจประเมินสภาพผิวหนัง การหาสาเหตุ และ การรักษาเบื้องต้น
1. สาเหตุของการเกิดโรคผิวหนังในสุนัข
โรคผิวหนังในสุนัขเกิดได้จากหลายสาเหตุ ได้แก่
เกิดจาก เชื้อแบคทีเรีย
ซึ่งจะทําให้เกิดตุ่มหนองที่ผิวหนัง สุนัขมักจะคัน ทำให้มีการกัดแทะและเก้าใน บริเวณวิการ ส่งผลให้เกิดแผลอักเสบเป็นหนองที่ผิวหนังตามมาได้ ซึ่งการอาจมีการกระจายเป็นวงกว้าง หลายตำแหน่ง
และมักมีขนร่วงในบริเวณวิการร่วมด้วย เชื้อสาเหตุที่มักพบก่อให้เกิดการอักเสบของ ผิวหนังแบบมีหนอง คือ เชื้อ Staphylococcus spp.
เกิดจาก เชื้อรา
เชื้อรา มักจะมีขนร่วงเป็นวงๆ ผิวหนังตรงกลางเรียบส่วนขอบๆ ของรอยโรคจะขรุขระ แดง เป็นตุ่มๆ คันมาก บางครั้งอาจจะร่วมกับการมีสะเก็ดแห้งๆ กระจายอยู่ทั่วตัว ซึ่งเชื้อราที่มักพบก่อให้เกิดปัญหาผิวหนังที่พบในสุนัขได้แก่ Dermatophyte หรือ ring worm ส่วนเชื้อราจำพวกยีสต์ เช่น Malassezia pachydermatis (Pityrosporum pachydermatis, P.Canis) จะทำให้ผิวหนังมีไขมันคลุม อยู่ขนร่วง คัน ผิวแดง มีกลิ่นสาบ
เกิดจาก ปรสิตภายนอก
ปรสิตภายนอก ได้แก่ ไรขี้เรื้อนชนิดที่อยู่ในรูขุมขน เช่น Demodex species และ ที่อยู่บน ผิวหนังเช่น Sarcoptes species โดยตำแหน่งที่มักพบเกิดวิการจากไรขี้เรื้อน Demodex species ได้แก่ ใบหน้าโดยเฉพาะบริเวณรอบปาก และ ปลายเท้า (รูปที่ 1) ขณะที่วิการจากไรขี้เรื้อน Sarcoptes species จะพบที่บริเวณรักแร้และข้อศอก ขอบของใบหูและข้อเข่า (รูปที่ 2)
รูปที่ 1 แสดงตำแหน่งของผิวหนังที่มักพบริการที่มีสาเหตุมาจากไรขี้เรื้อน Demodex species (คัดลอกจาก Small animal clinical techniques)
รูปที่ 2 แสดงตําแหน่งของผิวหนังที่มักพบวิการที่มีสาเหตุมาจากไรขี้เรื้อน Sarcoptes species (คัดลอกจาก Small animal clinical techniques)
เกิดจากความไม่สมดุลย์ของโภชนาการ
ส่งผลให้สารอาหารที่จําเป็นต่อการซ่อมแซมและบํารุงขนและผิวหนังไม่เพียงพอ
เกิดจากสิ่งกระตุ้นจากสภาวะแวดล้อมที่อยู่อาศัย
เช่น ฝุ่นปูน จากการต่อเติมซ่อมแซมบ้าน
2. การตรวจหาสาเหตุการตรวจผิวหนัง
การตรวจหาสาเหตุการตรวจผิวหนังสามารถทําได้โดยใช้เทคนิกดังต่อไปนี้
การขูดผิวหนังตรวจ (skin scraping)
วัตถุประสงค์ของการตรวจ คือเพื่อตรวจหาไรขี้เรื้อนที่ผิวหนัง
ข้อบ่งใช้ใช้กรณีที่สุนัขแสดงอาการขนร่วง มีสะเก็ดรังแค หรือมีอาการคันร่วมด้วยอุปกรณ์ที่ใช้ในการตรวจประกอบด้วย
- กระจกสไลต์ที่สะอาด
- Coverslips
- Mineral oil หรือ glycerin
- ใบมีด scalpel blade
- กล้องจุลทรรศน์โดยแนะนําให้ใช้กําลังขยายต่ํา (40x)
- กรรไกรสําหรับตัดขน
ขั้นตอนการดําเนินการ
- จุ่มปลายด้านมนของใบมีดลงบน mineral oil
- กําหนดตําแหน่งวิการที่สงสัยที่จะทําการขูดผิวหนังตรวจ ใช้มือบีบผิวหนังบริเวณนั้นให้ยกตัวขึ้น
- ขูดผิวหนังอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งมีเลือดออกเล็กน้อย
- ป้ายตัวอย่างที่ขูดได้ลงบนสไลต์แล้วปิด coverslip ก่อนนําไปส่องตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์
การตรวจหาวิการเชื้อราโดยใช้ Wood’s lamp
วัตถุประสงค์ของการตรวจ คือเพื่อตรวจหาการติดเชื้อรากลุ่ม Dermatophyte ซึ่งเชื้อสาเหตุหลักที่มักพบให้เกิดปัญหา ได้แก่ microsporum canis ซึ่งก่อโรคในสุนัข ประมาณ 50-70% และใน
แมว มากกว่า 90 % ของเชื้อสาเหตุทั้งหมด ข้อบ่งใช้ใช้กรณีที่สุนัขแสดงอาการขนร่วงเป็นหย่อมวงกลมมีขอบเขตชัดเจน มีสะเก็ดรังแค หรือมีอาการคันร่วมด้วย
อุปกรณ์ที่ใช้ในการตรวจประกอบด้วย Wood’s lamp เป็นเครื่องมือที่ให้กําเนิดแสง ultraviolet โดยมี cobalt หรือ nickel filter ตัวกรองคลื่นแสง
คําแนะนําในการใช้
- เปิด Wood’s lamp ก่อนการใช้งานอย่างน้อย 5 ถึง 10 นาที
- ผู้ทําการตรวจควรสวมถุงมือเพื่อป้องกันตนเองจากการติดเชื้อราทุกครั้ง
- ทําการส่องตรวจวิการผิวหนังในห้องมืดการแปรผลการตรวจ
- กรณีที่มีเชื้อราเป็นสาเหตุ เมื่อทําการส่องตรวจด้วย Wood’s lamp บริเวณวิการจะพบการเรืองของแสงสีเขียวเกิดขึ้น
- กรณีที่การตรวจให้ผลเป็นบวกแนะนําให้ทําการเพาะเชื้อยืนยันการติดเชื้อราอีกครั้ง
3. การรักษาโรคผิวหนังในสุนัข
ภายหลังจากตรวจวินิจฉัยและทราบสาเหตุของการเกิดโรคผิวหนังแล้ว ให้ทําการรักษาโดยมุ่งเน้นการกําจัดทําลายสาเหตุร่วมกับการรักษาตามอาการอย่างเหมาะสม