วิธีเลี้ยงปลาคาร์ฟ ให้หุ่นล่ำ สุขภาพแข็งแรง โตเร็ว ผิวดีสีสวย ..!
ผู้เลี้ยงปลาแฟนซีคาร์ฟ มักจะคิดว่าการเลี้ยงปลาคาร์ฟ ง่ายๆ ก็แค่การหาปลาคาร์ฟมาใส่ไว้ในที่บ่อเลี้ยงที่ใส่นํ้า โดยจัดคุณสมบัตินํ้าและสภาพแวดล้อม ตามตําราแนะนํา หาซื้ออาหารที่มีวางขายจากร้านขายปลามาให้ปลาคาร์ฟกิน ล้างทําความสะอาดบ่อและใส่ยาป้องกันโรคตามกําหนดเวลาเท่านั้นเป็นการเพียงพอ
วิธีเลี้ยงปลาคาร์ฟ ให้สมบูรณ์สวยงาม
สิ่งที่สําคัญของการเลี้ยงปลาคาร์ฟ คือความรักและความดูแลเอาใจใส่จากเจ้าของบ่อ ถึงกับมีคํากล่าวไว้ว่า "เงาของเจ้าของบ่อที่ยืนดูปลาคาร์ฟอย่างเอาใจใส่ คือสิ่งที่ปลาคาร์ฟในบ่อต้องการมากที่สุด"
ในการเลี้ยงปลาหรือสัตว์อื่นใดก็ตาม ปัญหาที่มิได้คาดคิดว่าจะเกิดย่อมเกิดขึ้นได้เสมอ เช่น ปลากระโดดออกมาตายนอกบ่อ ปลาเกิดการช็อคเนื่องจากนํ้าเปลี่ยนสภาพอุณหภูมิโดยฉับพลัน ปลาเป็นโรคโดยไม่ทราบสาเหตุหรือปลาตายเพราะไฟรั่วจากเครื่องปั๊มนํ้าไฟฟ้าที่เสื่อมอายุการใช้งาน ฯลฯ สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ผู้เลี้ยงปลาต้องหมั่นสํารวจตรวจตราด้วยตนเองอยู่เสมอ
การเคลื่อนย้ายปลาคาร์ฟ
การเคลื่อนย้ายปลาจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง วิธีลําเลียงปลาต้องทําโดยนุ่มนวล โดยใช้สวิงขนาดที่เหมาะสมที่จะช้อนปลา ใช้ถุงพลาสติกหรือถังตักปลาจากในนํ้า ไม่ควรช้อนปลาขึ้นจากนํ้าเพื่อใส่ถัง เพราะขณะที่ปลาดิ้นอยู่ในสวิงจะทําให้ผิวหนังหรือเกล็ดปลาบอบชํ้าจนเป็นสาเหตุที่ทําให้ปลาเป็นโรคตามมาภายหลังได้
สําหรับปลาคาร์ฟขนาดใหญ่และผู้จับปลาที่มีความชํานาญ อาจใช้วิธีจับแบบอุ้มจากนํ้าก็ได้ ก่อนปล่อยปลาลงในสถานที่ใหม่ ต้องมีการปรับอุณหภูมิและคุณภาพของนํ้าอย่างช้าๆ เพื่อให้ปลาสามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมใหม่ได้
และท้ายสุดหลังการปล่อยปลา ในช่วง 1-2 วันแรก ควรหมั่นสังเกตอาการของปลา ว่าเป็นปกติดีหรือไม่ และควรป้องกันการกระโดดหนีจากบ่อเลี้ยง โดยการใช้ตาข่ายปิดหรือกันล้อมรอบบ่อ หรืออาจลดระดับนํ้าลง ในระยะ1-2 วันแรกของการปล่อยปลา จนแน่ใจว่าไม่มีอาการตื่นตกใจ จึงเพิ่มนํ้าให้เท่าระดับเดิม
การเพิ่มออกซิเจนในนํ้า
โดยใช้ระบบปั๊มอากาศหรือปั๊มนํ้า นอกจากจะเป็นการเพิ่มออกซิเจน และลดปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์และแอมโมเนียแล้ว ย่อมก่อให้เกิดการเคลื่อนไหวของกระแสนํ้าที่ไหลอ่อน ๆ ในความเร็วที่สมํ่าเสมอจะช่วยให้ปลารวมกลุ่มว่ายนํ้าตามกระแสนํ้า ทําให้รูปร่างปลาได้สัดส่วนที่สวยงาม
อาหารปลาคาร์ฟ
อาหารปลาที่มีคุณค่าทางอาหารครบถ้วนปลาเจริญเติบโตแข็งแรงและสมบูรณ์ อัตราการปล่อยที่เหมาะสมไม่แน่จนเกินไปจะช่วยให้ปลามีสุขภาพดีและมีโอกาสเกิดจะช่วยให้ปลามีสุขภาพดีและมีโอกาสเกิดโรคได้น้อยกว่าที่ปล่อยเลี้ยงอย่างหนาแน่น
การป้องกันโรค
การป้องกันโรคปลาคาร์ฟ เป็นสิ่งที่ผู้เลี้ยงควรศึกษาและดําเนินการให้ถูกต้องมากกว่าการรักษา ซึ่งสามารถช่วยชีวิตปลาได้เพียงบางครั้งเท่านั้น ก่อนการเกิดโรคจนถึงระยะอันตรายหรือเกิดการตายขึ้นในแต่ละครั้ง จะมีสิ่งบอกเหตุเช่นปลาจะลอยขึ้นมาหายใจที่ผิวนํ้า (ลอยหัว) เมื่อออกซิเจนในนํ้าไม่เพียงพอปลาว่ายเอาตัวเข้าถูข้างบ่อหรือวัตถุในบ่อ แสดงว่าปลามีบางสิ่งบางอย่างผิดปรกติที่ผิวหนัง ซึ่งเมื่อผู้เลี้ยงตรวจพบควรรีบดําเนินการแก้ไขในทันที
ในบางกรณีผู้เลี้ยงปลาอาจพบปลาบางตัวในบ่อแสดงลักษณะผิดปรกติเช่นอ้าปากไม่หุบ แผ่นปิดเหงือกเปิดอ้า ตัวคดหรือตัวสั้น หรือสีบนตัวปลา ไม่แจ่มใสเท่าที่ควร ทั้งนี้อาจเกิดจากสายพันธุ์ไม่ดีหรือการเลี้ยงดูที่ไม่ถูกต้อง
เช่น ในระยะการอนุบาลปลาขนาดเล็ก หากออกซิเจนในนํ้ามีไม่เพียงพอลูกปลาต้องลอยขึ้นมาหายใจที่ผิวนํ้าบ่อยครั้ง จะทําให้หัวมีรูปร่างผิดปรกติและแผ่นปิดเหงือกต้องทํางานหนัก จนเป็นเหตุให้แผ่นปิดเหงือกยื่นยาวหรือแผ่นปิดเหงือกต้องทํางานหนักจนเป็นเหตุให้แผ่นปิดเหงือกยื่นยาวหรือเปิดอ้าได้
บางครั้งอาจมีสาเหตุมาจากโรคปลาในกรณีที่ปลาในบ่อเลี้ยงเกิดเป็นโรคควรแยกปลาที่เป็นโรคออกแล้วหาสาเหตุเพื่อแก้ไขและหาทางป้องกันโรคที่อาจติดต่อไปถึงปลาตัวอื่นๆ
การให้อาหารปลาคาร์ฟ
ปลาแฟนซีคาร์ฟ จัดเป็นปลาที่กินอาหารได้ทั้งพืชและสัตว์ (Omniverous) และสามารถฝึกให้กินอาหารได้เกือบทุกชนิด อาหารที่ดีและมีคุณค่าจะช่วยให้ปลาเจริญเติบโตดีและมีสีสรรสดใสสวยงามอยู่เสมอ
ปัจจุบันในการเลี้ยงปลาชนิดนี้นิยมใช้อาหารสําเร็จรูปที่สั่งเข้ามาจากต่างประเทศ นอกจากนั้นแล้วอาหารเลี้ยงปลาสวยงามที่ผลิตขึ้นในประเทศและอาหารที่ใช้เลี้ยงปลาดุก ก็สามารถนํามาใช้ได้เช่นเดียวกัน การให้อาหารควรให้ประมาณ 2-5 เปอร์เซนต์ของนํ้าหนักตัวปลาต่อวัน หรือสังเกตให้ปลากินอิ่ม การเลี้ยงปลานี้ควรให้อาหารวันละ 2 ครั้งในช่วงเช้าและบ่าย
ในการให้อาหารเร่งสีที่มีส่วนผสมของสไปรูลินา (Spirulina) อาจทําได้ในกรณีที่ต้องการให้ปลาสีสวยสดโดยเฉพาะสีแดงแต่ไม่ควรให้มากและบ่อยครั้งจนเกินไป เพราะจะทําให้สีขาวเปลี่ยนเป็นสีเหลือง
อนึ่งการให้อาหารประเภทผัก ซึ่งมีวิตามินหากเสริมให้ปลากินบ้างเป็นครั้งคราว ก็จะทําให้ปลามีกินบ้างเป็นครั้งคราว ก็จะทําให้ปลามีสุขภาพแข็งแรงดีขึ้น ผักที่นิยมนํามาให้ปลากินเช่นผักบุ้ง ผักกาดขาวแตงโม ฯลฯ ข้อควรระวังคือต้องใช้ผักที่ปราศจากสารพิษหรือสิ่งที่เป็นอันตรายต่อปลา