Lazada Flash Sale

โปรฟ้าผ่า!! รับซัมเมอร์

ลดแรงกว่า 90%* ช้อปเลย »

อาการแฮมเตอร์ป่วย เกิดจากอะไร วิธีรักษาโรคหนูแฮมเตอร์ป่วย!

เนื้อหาข้อมูล"โรคหนูแฮมเตอร์ป่วย"

ถ้าหนูแฮมเตอร์เริ่มแสดงอาการป่วยขึ้นมา เราจะมีวิธีสังเกตอาการได้อย่างไรบ้าง? เรามาทำความรู้จักโรคต่างๆของหนูแฮมเตอร์กันเลยนะคะ

อาการ หนูแฮมเตอร์ป่วย

วิธีการสังเกตอาการป่วยหนูแฮมเตอร์ ถ้าแฮมเตอร์เราเริ่มมีอาการแปลกๆ เราจะมีวิธีการสังเกตยังไง? ซึ่งโรคที่จะพบในแฮมเตอร์อาจมีเพียงไม่กี่โรค การรักษาไปตามอาการก็อาจจะทำได้

วิธีรักษาโรคหนูแฮมเตอร์ป่วย

แต่ถ้าให้ดี เมื่อเราเลี้ยงหนูแฮมเตอร์แล้ว เราควรจะต้องทำความรู้จักโรคที่อาจก่อให้เกิดความสูญเสียให้ดีซะก่อน เพื่อจะได้รู้เท่าทัน และหาวิธีป้องกันรักษาไม่ให้แฮมเตอร์ของเราป่วยตาย

รายละเอียดเพิ่มเติม

จุดสังเกตแฮมเตอร์ป่วย

อาการที่พบ : จาม มีน้ำมูก ตาแฉะ ตาปิด หอบ หายใจถี่ หายใจลำบาก อ้าปากหายใจ หายใจมีเสียงดัง พบคราบน้ำลายไหลเปียกคาง ซึม ไม่กินน้ำและอาหาร กินอาหารลำบาก หยิบกินอาหารแล้วหล่นพื้น เลือกกิน นอนมากขึ้น ผอมลง ไม่มีแรง ไม่แต่งตัว ตูดเปียก หากทิ้งไว้อาจเสียชีวิตได้

1. ปัญหาของระบบทางเดินหายใจ

จาม มีน้ำมูก ตาแฉะ ตาปิด หอบ หายใจถี่ หายใจลำบาก อ้าปากหายใจ หายใจมีเสียงดัง แสดงออกถึงโรคระบบทางเดินหายใจ เช่น ปอดอักเสบ หวัด หรืออาการแพ้การใช้สิ่งปูรองที่ไม่เหมาะสม อาการเหล่านี้หาก อาการรุนแรงมากขึ้นอาจมีผลถึงชีวิตได้

2. ปัญหาของสุขภาพฟัน

อาการ พบคางเปียก กินลำบาก ฟันยาว หากฟันยาวมาก อาจทิ่มช่องปาก ทำให้เกิดแผลและการติดเชื้อร่วมด้วยได้ บางกรณี หนู น้ำหนักตัวลดลง ผอม ลง อาจแสดงถึงโรคแทรกซ้อนต่างๆได้

3. ปัญหาของระบบทางเดินอาหาร

พบหางเปียกตลอดเวลา ถ่ายเหลวอุจจาระนิ่ม มีกลิ่นเหม็นผิดปกติ หากท้องเสียรุนแรง (wet tail) ควรรีบพาไปพบสัตวแพทย์ทันที

4. ปัญหาผิวหนัง

มีอาการคันเกา ขนร่วง ผิวหนังอักเสบ แดง เปียกอับชื้นโดยเฉพาะใต้ท้อง ชอบนอนทับปัสสาวะหนูที่ป่วยจะขาดการแต่งตัว หรือชอบนอนทับปัสสาวะช่วงอากาศร้อน และพบเป็นปัญหาสุขภาพตามมา

อาหารเสริมแฮมเตอร์ Nutri-Ham by Dr.Hamster

อาหารเสริมแฮมเตอร์ Nutri-Ham by Dr.Hamster มีสารอาหารครบ สามารถใช้ชดแทนอาหารหลัก ให้กับหนูแฮมเตอร์ป่วย หรือสามารถใช้เสริม ให้กับหนูแฮมเตอร์ที่เลือกทาน เพื่อป้องกันการขาดสารอาหาร และบำรุงให้น้องแข็งแรง เติบโตได้ดีค่ะ

อาหารเสริมแฮมเตอร์ Nutri-Ham by Dr.Hamster critical nutrition for hamsters

Nutri-ham by Dr.hamster

  • นิวทริ-แฮม คือ อาหารสูตรเฉพาะสำหรับแฮมสเตอร์ที่อยู่ในภาวะเบื่อหรือขาดสารอาหารจากการป่วย ภาวะพักฟื้นหลังการผ่าตัด
  • สารอาหารครบถ้วน ความน่าทานและพลังงานในอาหารที่สูง เพื่อให้แฮมสเตอร์ได้รับพลังงานที่ต้องการต่อวันเพียงพอ แม้ว่าจะได้รับอาหารในปริมาณที่น้อย
  • โปรตีนสูง ที่ย่อยและดูดซึมได้ง่าย เหมาะสมต่อการฟื้นฟูร่างกาย ในภาวะพักฟื้นหลังการป่วยและการผ่าตัด
  • ปริมาณไฟเบอร์ในนิวทริแฮมมีความเหมาะสมสำหรับแฮมเตอร์ช่วยกระตุ้นการทำงานของลำไส้

รายละเอียดเพิ่มเติม

หนูแฮมเตอร์ท้องเสียก็สามารถทานได้ เนื่องจากไม่มีส่วนผสมของนม ไม่ทำให้อาการรุนแรงขึ้น และมีจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ช่วยให้น้องฟื้นตัวได้ดีขึ้นค่ะ น้องแฮมเตอร์ที่ท้องเสียควรพบคุณหมอนะคะ นิวทริแฮมช่วยเติมสารอาหารจำเป็น แต่ไม่แก้ไขโรคท้องเสียจากการติดเชื้อ น้องควรได้รับการตรวจอึ๊ และวินิจฉัยการรักษาจากคุณหมอค่ะ

แต่สำหรับน้องแฮมเตอร์ ที่สุขภาพดีอยู่แล้ว และได้รับอาหารหลักคุณภาพที่สารอาหารเหมาะสม สามารถให้ได้สักสัปดาห์ละ 1-3 ครั้ง ก็เพียงพอค่ะ-

เราจะมีวิธีสังเกตอาการป่วยของหนูแฮมเตอร์ได้อย่างไรบ้าง? เรามาทำความรู้จักโรคต่างๆของหนูแฮมเตอร์กันเลยนะคะ

1. หนูแฮมเตอร์ป่วย โรคหางเปียก

โรคหางเปียกนับว่าเป็นโรคที่ร้ายแรงที่สุดสำหรับแฮมเตอร์ก็ว่าได้ โรคหางเปียกเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย หรือการขาดสมดุลของแบคทีเรียในกระเพาะอาหารของแฮมเตอร์ หรือเกิดจากความเครียด เช่นการเปลี่ยนที่อยู่ใหม่

ลักษณะอาการของโรค จะมีการถ่ายเหลวซึ่งจะคล้ายๆกับโรคท้องเสียธรรมดา แต่ท้องเสียธรรมดาอุจจาระจะเลอะแค่บริเวณก้น แต่ถ้าเลอะตั้งแต่ก้นจนถึงโคนหาง อุจาระมีสีอ่อน นิ่มเหลว บางครั้งเป็นเมือก มีกลิ่นเหม็นมากกว่าปกติ มีอาการเซื่องซึม อ่อนเพลีย กรีดร้องอย่างเจ็บปวด ให้สงสัยไว้ก่อนว่าเป็นโรคหางเปียก

ระยะเวลาของโรค หลังจากแสดงอาการประมาณ 7 วัน แฮมเตอร์ก็จะเสียชีวิตภายใน 24 ชั่วโมง สิ่งที่ควรทำทันทีที่เห็นอาการ ให้รีบพาไปพบแพทย์โดยเร็วที่สุด อย่าให้ยาปฏิชีวนะสำหรับอาการท้องเสียธรรมดา เพราะไม่ช่วยให้อาการดีขึ้น

2. หนูแฮมเตอร์ท้องเสีย

แฮมเตอร์อาจมีอาการท้องเสียได้บ่อยๆ ถ้าแน่ใจว่าไม่ได้เป็นโรคหางเปียก ก็ให้รักษาด้วยการให้ยาแก้ท้องเสียสำหรับสัตว์ โดยพาสัตว์เลี้ยงไปพบสัตวแพทย์ ไม่ควรซื้อยามาป้อนเอง

การให้ยาต้องระวังเรื่องปริมาณ การให้ยาเกินขนาดแทนที่จะเป็นผลดีกับเป็นผลเสียต่อแฮมเตอร์ก็เป็นได้ ในช่วงที่แฮมเตอร์ท้องเสียงดให้ผักและผลไม้สด รวมทั้งอาหารที่มีความชื้นสูง ควรให้อาหารแห้งพวกธัญพืช หญ้าแห้ง และน้ำสะอาดด้วย โดยอาจผสมเกลือแร่

การที่แฮมเตอร์ท้องเสียเกิดได้หลายสาเหตุ เช่น การได้รับผักและผลไม้สดที่มีปริมาณน้ำมากเกินไป หรือได้รับอาหารที่ไม่สะอาด มีเชื้อโรค เชื้อรา หรือกินอาหารที่แปลกๆเข้าไป จึงทำให้แบคทีเรียในกระเพาะอาหารขาดสมดุล ฉะนั้นการให้อาหารแฮมเตอร์ผู้เลี้ยงก็ควรใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษด้วย

3. หนูแฮมเตอร์เป็นหวัด

โรคหวัดสามารถติดต่อได้ทางลมหายใจ อาหาร และน้ำ ผู้ที่เลี้ยงเมื่อรู้ตัวว่าป่วยเป็นหวัดก็ควรที่จะหลีกเลี้ยงการสัมผัสแฮมเตอร์ หรือหาผ้ามาปิดปากปิดจมูกเวลาเล่นกับเค้า ลักษณะอาการเมื่อแฮมเตอร์เป็นหวัด ซึม หงอย จมูกเปียก ตาแฉะ กินน้อย ไม่ร่าเริง ในบางตัวอาจมีไข้ตัวร้อน ต้องพาไปพบสัตวแพทย์โดยด่วน

อาการหวัดไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ โดยสัตวแพทย์จะจ่ายตามอาการเท่านั้น ในกรณีที่อาการไม่หนักมาก เราสามารถรักษาเบื้องต้นได้ ถ้ามีขี้ตาให้หาคอตต้อนบัตจุ่มน้ำสะอาดเช็ดออก โดยเช็ดไปทางเดียวกัน อย่าเช็ดไปเช็ดมา 

ให้ป้อนอาหารอ่อนๆ เช่นอาหารสำหรับเด็กอ่อน พวกยี่ห้อไฮนซ์ อย่าป้อนซีรีแลคเด็ดขาด เพราะซีรีแลคมีส่วนผสมของนมวัว เวลาที่เค้าป่วยลำไส้จะทำงานหนักเป็นพิเศษ และควรให้อาหารที่มีวิตามินซีสูง 

ผลไม้ที่ให้แฮมเตอร์กิน อย่าให้ผลไม้มีที่รสเปรี้ยว แนะนำเป็นฝรั่ง แอปเปิ้ล โดยหันเป็นชิ้นเล็กๆให้เค้า และควรใส่ทิชชู่เพิ่มเพื่อให้เขาทำรังนอนได้อุ่นขึ้น แต่ถ้าอาการไม่ดีขึ้นภายใน 1-2 วัน ควรนำไปพบแพทย์ทันที และไม่ควรให้ยารักษาด้วยตัวเอง

วิธีป้องกัน เมื่อร่างกายแข็งแรงก็ย่อยจะไม่เป็นโรคต่างๆได้ง่าย ดังนั้นควรเสริมสร้างสุขภาพให้แฮมเตอร์แข็งแรงเพื่อป้องกันหวัด ทำได้ง่ายๆโดยให้อาหารที่สดใหม่ และมีคุณค่าทางด้านโภชนาการที่ครบถ้วน น้ำต้องสะอาด โดยอาจผสมวิตามินให้เค้าบ้าง ควรเปลี่ยนน้ำทุกๆ 2-3 วัน แม้น้ำจะไม่สกปรกก็ตาม ล้างภาชนะให้สะอาดทุกครั้ง

4. หนูแฮมเตอร์เป็นโรคแก้มเน่า

แฮมเตอร์มีนิสัยชอบตุนอาหารไว้ในแก้มแล้วไม่ยอมกิน แล้วยิ่งอาหารที่มีปริมาณน้ำตาลมาก อาหารนี้อาจจะละลายในแก้มของแฮมเตอร์ และเกิดการหมักหมมของเชื้อแบคทีเรียในแก้ม จนอาหารที่อมไว้เน่าเสีย และกระพุ้งแก้มติดเชื้อ ดังนั้นผู้เลี้ยงความหมั่นสังเกตว่า แฮมเตอร์กินอาหารในแก้มที่ตุนไว้บ้างหรือเปล่า?

วิธีป้องกัน ให้อาหารในปริมาณที่เค้าพอกิน 1 วัน แฮมเตอร์แคระอาจให้ประมาณ 1 ช้อนชา ไจแอนท์อาจให้ 1-2 ช้อนชา และถ้าเค้าตุนไว้ในแก้มก็หยุดให้อาหารเขาเพิ่มสัก 1-2 วัน เพื่อบังคับให้เค้าเอาอาหารที่ตุนไว้ในกระพุ้งแก้มออกมากิน ถ้าแก้มเน่าจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพแฮมเตอร์ได้ 

วิธีการสังเกตว่าเป็นโรคแก้มเน่าหรือไม่ ถ้าเค้าตุนจนไม่ยอมเอาออก เราก็ต้องช่วยเค้า โดยการดันเบาๆ เพื่อเปิดทางหลังจากนั้นเค้าจะค่อยๆคายออกมาเอง ถ้าอาหารที่คายออกมามีกลิ่นเหม็นเน่า ให้สงสัยไว้ก่อนว่าแก้มอาจเน่าได้ และให้พาไปพบสัตวแพทย์ทันที เพื่อรักษา

5. หนูแฮมเตอร์ขนร่วง

ถ้าหากแฮมเตอร์ขนร่วง แหว่งหายไป เป็นหย่อมๆ หรือเป็นแถบ หรือทั้งตัว ต้องรีบหาสาเหตุเพื่อแก้ไขและรักษา ซึ่งโดยทั่วไปสาเหตุที่ทำให้แฮมเตอร์ขนร่วง ได้แก่ การขาดสารอาหาร ได้รับสารอาหารไม่ครบถ้วน หรือได้รับอาหารซ้ำๆ ติดต่อกันเป็นเวลานาน แก้ไขโดยสลับอาหารบ้าง หรือหาอาหารเสริมให้เขา อากาศร้อนก็ทำให้แฮมเตอร์ขนร่วงได้ 

ที่อยู่อาศัยสกปรกหมั่นทำความสะอาดกรงอย่างน้อยอาทิตย์ละครั้ง คอยดูแลความสะอาด เพราะสิ่งสกปรกมักเป็นแหล่งเพาะเชื้อโรคได้ แพ้วัสดุรองกรง อันนั้นต้องหมั่นสังเกตเพราะแพ้วัสดุรองกรงนั้นมีหลากหลายรูปแบบ และแฮมเตอร์แก่แฮมเตอร์ที่อายุมากก็อาจมีขนร่วงได้

6. หนูแฮมเตอร์เป็นฝีหนอง

ถ้าหากแผลของแฮมเตอร์ไม่ว่าจะโดนอะไรมาก็ตามเกิดอักเสบจนเป็นหนอง หรือเกิดเป็นฝีขึ้นมา ให้ตัดขนปริเวณรอบๆออก ล้างแผลด้วยน้ำเกลือ แล้วใส่ยาที่มีสรรพคุณฆ่าเชื้อโรค โดยขอคำแนะนำจากสัตวแพทย์เกี่ยวกับยา แต่ห้ามเจาะหนองเองเด็ดขาด รอให้หนองแห้งไปเองจะเป็นการดีที่สุด

7. อาการท้องผูกของหนูแฮมเตอร์

มักไม่ค่อยเกิดขึ้นกับแฮมเตอร์ แต่ถ้าสังเกตว่าแฮมเตอร์ไม่ค่อยถ่าย หรือถ่ายน้อย และร้องเจ็บปวดเวลาถ่าย แสดงว่าท้องผูก ควรให้น้ำสะอาดและผักผลไม้สด แต่ต้องล้างให้สะอาด และให้ในปริมาณที่เหมาะสม ก็ช่วยให้เจ้าหนูหายจากอาการท้องผูกได้

8. โรคความร้อนที่พบในหนูแฮมเตอร์

แม้ว่าแฮมเตอร์จะเป็นสัตว์ทะเลทราย แต่การเปลี่ยนอุณหภูมิของสภาพแวดล้อมอย่างกระทันหัน หรืออากาศที่ร้อนอบอ้าวมากๆ ย่อมทำให้แฮมเตอร์ตัวเล็กๆ เกิดอาการช็อคได้ โดยหากแฮมเตอร์มีเหงื่อออก ตัวเปียกแฉะ นอนนิ่ง หายใจหอบ 

วิธีแก้ไข คือ เอาผ้าชุบน้ำ(อุณหภูมิปกติ) มาเช็ดตัวให้น้องแฮมเตอร์ หรือหากระบอกฉีดน้ำ พ่นละอองน้ำให้แฮมเตอร์ เพื่อลดความร้อน หรือเอาน้ำแข็งห่อผ้าวางไว้ใกล้ๆ และเปิดพัดลมให้แบบส่าย อย่าเปิดแบบจ่อให้ลมโกรกแรง อาการของเขาก็จะดีขึ้น

9. โรคความเย็นที่พบในหนูแฮมเตอร์

โรคนี้ตรงข้ามกับโรคความร้อน และมักไม่เกิดขึ้นในเมืองไทยที่มีอากาศร้อน แต่ก็อาจเกิดขึ้นเล็กๆน้อยๆได้ ลักษณะอาการ ขดตัวนิ่ง ตัวแข็ง หายใจเบา จับดูตัวเย็น ให้เอาผ้าขนหนูแห้งๆห่อไว้เว้นส่วนหัว แล้วเอาไฟกก โดยอาจใช้โคมไฟอ่านหนังสือ แต่ถ้าใช้แบบหลอดไส้จะร้อนดีกว่า มาส่งตัวแฮมเตอร์ ให้ระยะจากโคมไฟกับแฮมเตอร์ห่างกันประมาณ 30 ซม. จนแฮมเตอร์รู้สึกตัว 

การที่แฮมเตอร์เกิดโรคความเย็นก็เนื่องจากอุณหภูมิลดต่ำลงมากเกินไป กลไกในตัวของแฮมเตอร์จะสั่งให้จำศีล เพราะอากาศหนาวคือสัญญาณของฤดูที่อดอยาก

คำแนะนำ ในการเลี้ยงแฮมเตอร์ให้ สุขภาพดี

  • การจัดการและโภชนาการอาหารที่ดีคือสิ่งสำคัญ
  • เมื่อพบอาการผิดปกติแนะนำพาไปพบสัตวแพทย์ทันที
  • ดูแลเรื่องอุณหภูมิ ความชื้นและการระบายอากาศให้ดี
  • ตรวจเช็คการกินได้ของน้ำและอาหารทุกวัน
  • ไม่แนะนำให้เลี้ยงในตู้ปลาหรือตู้กระจกเพราะการระบายอากาศไม่ดี
  • ไม่แนะนำให้ใช้ทรายอาบน้ำปูรองพื้น เพราะระคายเคืองทางเดินหายใจ และหมักหมม
  • ควรทำความสะอาดอุปกรณ์เป็นประจำ 2 ครั้งต่อสัปดาห์ แต่ไม่แนะนำให้ทำทุกวันเพราะจะมีผลกับกลิ่นที่เปลี่ยนแปลงทำให้แฮมเตอร์เครียดได้
  • ไม่ควรเลี้ยงแฮมเตอร์ ในกรงเดียวกันจำนวนมาก บางพันธุ์ชอบที่จะอยู่ตัวเดียวมากกว่า
  • ควรแยกตัวที่แสดงอาการป่วยออกมารักษาไม่เลี้ยงรวมกัน

รายละเอียดเพิ่มเติม