เริ่มแล้ว!!

LAZADA PAYDAY

ดีลเด็ด เปย์ส่งท้ายเดือน

25-30 เม.ย. 67 นี้เท่านั้น!!

ลดแรงกว่า 90%* ช้อปเลย »

ปลาช่อนเข็ม Pikehead ลักษณะเด่น กินอะไร เลี้ยงยากไหม?!

ปลาช่อนเข็ม (Pikehead)

ปลาช่อนเข็ม ชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Luciocephalus pulcher (Gray, 1830) เป็นสัตว์น้ำในกลุ่มปลา ซึ่งเป็นปลาน้ำจืดในสกุล Luciocephalus ซึ่งถูกจัดอยู่ในวงศ์ Osphronemidae

ปลาช่อนเข็ม มีชื่อสามัญ ภาษาอังกฤษ ว่า Pikehead

ลักษณะ ปลาช่อนเข็ม

ลักษณะเด่น

ปลาช่อนเข็ม มีลักษณะเด่นคือ เป็นปลาช่อนที่มีขนาดเล็ก รูปร่างเพรียวยาวส่วนหัวและจะงอยปากแหลมยื่น ปากยาวยื่นยืดหดได้ จึงมีชื่อเรียกว่าปลาช่อนเข็ม ปลาเพศผู้จะเป็นพ่อที่เลี้ยงลูก โดยการอมไข่เพื่อรอให้ไข่ฟักออกมาเป็นตัวและเลี้ยงลูกอยู่ในปากจนกว่าลูกปลาจะแข็งแรง

อาหารปลาช่อนเข็ม กินอะไร

ปลาช่อนเข็ม Pikehead
Photo by : Arunee Rodloy

ปลาช่อนเข็ม กินแมลง สัตว์น้ำขนาดเล็ก เป็นอาหาร

รายละเอียดเพิ่มเติม

ลักษณะทั่วไป

ปลาช่อนเข็ม มีลักษณะ รูปร่างเพรียวยาวส่วนหัวและจะงอยปากแหลมยื่น ปากยาวยื่น ยืดหดได้ จะงอยปากล่างยาวกว่าปากบน ตาโต เกล็ดใหญ่

ครีบหลังอันเล็กมีฐานสั้น อยู่ค่อนไปทางด้านท้ายใกล้กับคอดหาง ครีบหางมีปลายมน ครีบก้นมีฐานยาวแบ่งออกเป็นสองตอนโดยเว้าที่ตอนกลาง ครีบท้องเล็กมีก้านครีบอันแรกยาวเป็นเส้น ครีบอกเล็ก

ลำตัวมีสีน้ำตาลไหม้หรือน้ำตาลอมเขียว ด้านหลังมีสีจางกว่าตอนกลาง มีแถบใหญ่สีคล้ำขอบสีจางพาดจากจะงอยปากไปถึงโคนครีบหาง และมีแถบสีจางพาดบริเวณด้านท้อง

โคนครีบหางมีจุดจางสีดำขอบขาว ด้านท้องสีจาง ครีบหลังมีสีคล้ำ ครีบหางมีลายสีคล้ำประ ครีบด้านล่างใส ว่ายอยู่ใกล้ผิวน้ำเป็นกลุ่มเล็ก ๆ 5-10 ตัว หรือลอยอยู่เหนือใบไม้เพื่อรอเหยื่อ ขนาดใหญ่สุดความยาวประมาณ 20 ซม.

ปลาช่อนเข็ม Pikehead
Photo by : Arunee Rodloy

ถิ่นอาศัย

ปลาช่อนเข็ม มีถิ่นอาศัยพบเฉพาะในถิ่นอาศัยแบบพรุดั้งเดิม ตั้งแต่พรุโต๊ะแดงถึงสุมาตราและบอร์เนียว

วิธีเลี้ยงปลาช่อนเข็มในตู้ปลา

การเลี้ยงปลาช่อนเข็ม สามารถเลี้ยงในตู้ขนาดเล็ก ตกแต่งด้วยขอนไม้และพรรณไม้น้ำ เป็นปลาที่เลี้ยงค่อนข้างยาก ถูกรวบรวมเพื่อส่งออกเป็นจำนวนมากจากพรุโต๊ะแดง

สถานภาพ

ปลาช่อนเข็มถูกจับรวบรวมจากที่อยู่อาศัยในธรรมชาติเพื่อส่งขายต่างประเทศ ทำให้มีความเสี่ยงใกล้สูญพันธุ์ พบเฉพาะในแหล่งน้ำบริเวณป่าพรุโต๊ะแดง จังหวัดนราธิวาส สามารถเพาะพันธุ์ได้โดยวิธีธรรมชาติ คือนำพ่อแม่พันธุ์ที่สมบูรณ์มาเลี้ยงในบ่อ

หลังจากมีการผสมพันธุ์ ปลาเพศผู้จะอมไข่และเลี้ยงลูกอยู่ในปากจนกว่าลูกปลาจะแข็งแรง ในการเพาะเลี้ยงสามารถเปิดปากปลาออกมาเพื่อนำลูกปลาแยกมาอนุบาลต่อไป

กรมประมงมีนโยบายที่จะส่งเสริมให้มีการเพาะเลี้ยงเป็นปลาสวยงามเพื่อส่งออกจำหน่ายต่างประเทศ เพื่อลดการจับจากธรรมชาติ รวมทั้งเพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรปลาสวยงามไทยให้ยังคงอยู่ต่อไป

อ้างอิง: กลุ่มวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสวยงามและพรรณไม้น้ำ

รายละเอียดเพิ่มเติม