Lazada Flash Sale

โปรฟ้าผ่า!! รับซัมเมอร์

ลดแรงกว่า 90%* ช้อปเลย »

✓นกกระทาญี่ปุ่น (นกคุ่มญี่ปุ่น) ลักษณะ อุปนิสัย เป็นนกอพยพ!

นกกระทาญี่ปุ่น (Japanese Quail)

นกกระทาญี่ปุ่น ชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Coturnix japonica Temminck & Schlegel, 1849 อยู่ในสกุล Coturnix จัดอยู่ในวงศ์ Phasianidae เป็นสัตว์ป่าในกลุ่มสัตว์ปีก

ที่มา/การค้นพบ

นกกระทาญี่ปุ่น(นกคุ่มญี่ปุ่น) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Coturnix japonica ชื่อชนิดเป็น คําที่ดัดแปลงมาจากชื่อสถานที่คือ ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งพบนกชนิดนี้เป็นครั้งแรก

บางท่านก็จัดเป็นชนิดย่อยหนึ่งของนกคุ่มยุโรป หรือ Cotumnix colurnix (Linnaeus) ซึ่งพบครั้งแรกที่ ประเทศสวีเดน โดยเขียนเป็นชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Coturnix coturnix japonica (Temminck & Schlegel) 

นกกระทาญี่ปุ่น (นกคุ่มญี่ปุ่น) ลักษณะ อุปนิสัย การผสมพันธุ์
Photo by Hiyashi Haka

แต่หลายท่านที่จัดเป็นคนละชนิดกัน หรือยกฐานะชนิดย่อยเป็นชนิด ดังที่ปรากฏในที่นี้

รายละเอียดเพิ่มเติม

การกระจายพันธุ์

นกกระทาญี่ปุ่น(นกคุ่มญี่ปุ่น) มีถิ่นกำเนิดในอัสสัม ประเทศอินเดีย) จีน ญี่ปุ่น ไต้หวัน และฟิลิปปินส์ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้พบทั่ว ๆ ไป

ลักษณะทั่วไป

นกกระทาญี่ปุ่น(นกคุ่มญี่ปุ่น) เป็นนกที่มีขนาดเล็ก (17-19 ซม.) แต่ใหญ่กว่าพวกนกลุ่ม (Quail) อื่น ๆ มีลายขีด หรือลายทางสีเนื้อทางด้านบนลำตัว และมีลายทางเหนือตาลักษณะคล้ายคิ้วสีเนื้อ หรือสีขาวเด่นชัด 

ตัวผู้บริเวณอกเป็นสีน้ำตาลแดงแกมสีเนื้อ ปกติไม่มีลายใด ๆ แต่จะมีลายขีดทางด้านข้างลำตัว และเหนือขาอ่อนเป็นสีน้ำตาลและขาว คอหอยสีน้ำตาลแดงทั้งหมด หรือสีขาวมีลายสลับสีน้ำตาลแกมดำ

ตัวเมียมีลายจุดหรือลายขีดที่อกมาก ซึ่ง แตกต่างจากพวกนกคุ้มอืด (Buttonquail) ต่าง ๆ

อุปนิสัยและการกินอาหาร

นกกระทาญี่ปุ่น(นกคุ่มญี่ปุ่น) เป็นนกที่มีกิจกรรมต่าง ๆ และหากินในตอนกลางวัน พบตามทุ่งหญ้า และแหล่งกสิกรรมต่าง ๆ เป็นนกที่บินได้ดี แต่มักพบเดินตามพื้นดิน ยกเว้นตอนมีภัยเท่านั้นที่จะบินหนี แต่ก็บินในระดับที่ไม่สูงและระยะทางที่ไม่ไกลนัก ยกเว้นการบินในขณะที่อพยพ

อาหาร ได้แก่เมล็ดหญ้า ธัญพืช แมลง ตัวหนอน และสัตว์ขนาดเล็กต่างๆ ที่อาศัยอยู่ตามพื้นดิน หาอาหาร โดยการคุ้ยเขี่ย และใช้ปากจิกกิน

การผสมพันธุ์

ไม่มีรายงานการทํารังวางไข่ในธรรมชาติของนกกระทาญี่ปุ่น(นกคุ่มญี่ปุ่น)ในประเทศไทย นอกเหนือจากการนำมาเลี้ยงในกรง

โดยที่นกกระทาญี่ปุ่น(นกคุ่มญี่ปุ่น) ตัวเมียหนึ่ง ๆ สามารถให้ ไข่จํานวนมาก หรือประมาณ 250-300 ฟองต่อปี อายุเพียง 35-60 วัน ก็โตพอที่จะให้ไม่ได้อีก

ปัจจุบันมีผู้นิยมเลี้ยงนกกระทาญี่ปุ่น(นกคุ่มญี่ปุ่น) กันมาก และมีการปรับปรุงพันธุ์เรื่อย ๆ

อนุกรมวิธาน (Taxonomy)

  • อาณาจักร (Kingdom) : Animalia
  • ไฟลัม (Phylum) : Chordata
  • ซับไฟลัม (Subphylum) : Vertebrata
  • ชั้น (Class) : Aves
  • ลำดับ (Order) : Galliformes
  • วงศ์ (Family) : Phasianidae
  • วงศ์ย่อย (Subfamily) : -
  • สกุล (Genus) : Coturnix
  • ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name) : Coturnix japonica Temminck & Schlegel, 1849
  • ชื่อพ้อง (Synonyms) : -
  • ชื่อสามัญ (Common name) : Japanese Quail
  • ชื่อไทย (Thai name) : นกคุ่มญี่ปุ่น
  • ชื่ออื่นๆ (Other name) : นกกระทาญี่ปุ่น, Migratory Quail"

สถานภาพ (Status)

  • สถานภาพ: ตามธรรมชาตินกกระทาญี่ปุ่น(นกคุ่มญี่ปุ่น) เป็นนกที่อพยพมายังประเทศไทยในฤดูหนาว พบเฉพาะทางภาคเหนือตอนบนสุด หายากและปริมาณน้อยมาก
  • สถานภาพตามกฎหมาย: กฎหมายยังไม่ได้จัดให้เป็นสัตว์ป่าสงวนหรือสัตว์ป่าคุ้มครองใดๆ
  • IUCN 2008: กลุ่มที่เป็นกังวลน้อยที่สุด (Least concern) LC

เทคนิคในการดูนก

  • ออกไปดูนกเวลาเช้าตรู่ก่อนที่พระอาทิตย์จะขึ้น
  • พยายามหยุดทุก ๆ 5 นาที เพื่อสำรวจดูนกรอบ ๆ ตัว รวมทั้งพยายามฟังเสียงร้องของนกด้วย
  • พยายามมองหานกตั้งแต่ระดับพื้นดิน จนถึงบนท้องฟ้า
  • พยายามส่งเสียงให้น้อยที่สุด
  • เมื่อเห็นนกด้วยตาเปล่า ควรรีบส่องกล้องสองตาดูทันที
  • เมื่อเห็นนกไม่ควรแย่งกันดู แต่ควรส่องกล้องสองตาดูนกในตำแหน่งที่แต่ละคนยืน หรือนั่งอยู่
  • ควรจดจำรายละเอียดของนกตัวนั้นให้มากที่สุด แล้วนำมาจำแนกจากหนังสือคู่มือดูนก
  • เลือกใช้อุปกรณ์ดูนก กล้องส่องทางไกลแบบสองตา (Binoculars) เป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญสูงสุดในการดูนก เพราะช่วยให้มองเห็นรายละเอียดของนกได้ในระยะไกล ขนาดของกล้องส่องทางไกลแบบสองตาที่เหมาะสมกับการดูนก มีกำลังขยายที่เหมาะสม ภาพไม่แคบจนเกินไป น้ำหนักเบา เหมาะมือ ราคาไม่แพง

อ้างอิง: กลุ่มงานวิจัยสัตว์ป่า สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

รายละเอียดเพิ่มเติม