Lazada 4.4

» ลาซาด้า 4.4 ลดสูงสุด 90%*

4 - 6 เมษายน นี้ เท่านั้น! (จำนวนจำกัด)

✓โรคพิษสุนัขบ้าคืออะไร เกิดจากสาเหตุใด วิธีรักษา การป้องกัน!

แม้ว่าโรคพิษสุนัขบ้าจะเป็นโรคที่รู้จักกันมานานแล้ว แต่ด้วยปัจจัยหลายๆ อย่าง อาทิ ขาดความเอาใจใส่สัตว์เลี้ยงของตนเองหรือความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ทำให้โรคนี้ยังคงอยู่ และก่อความเสียหายต่อชีวิตคนและสัตว์เลี้ยงอย่างต่อเนื่อง และมีแนวโน้มว่าจะมีความรุนแรงขึ้น

ระวัง! โรคพิษสุนัขบ้า ภัยใกล้ตัว

เมื่อช่วงเดือนมีนาคม พ.ศ.2561 ที่ผ่านมา ทางกรมปศุสัตว์ได้ประกาศพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคซึ่งกระจายอยู่ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทย

นอกจากนี้ยังมีรายงานว่ามีผู้ถูกสุนัขบ้ากัดแล้วเสียชีวิตไปแล้วหลายราย ตามที่ได้มีข่าวนำเสนอผ่านทางสื่อสารมวลชนและ social media ต่างๆ ทำให้ผู้คนเริ่มตระหนักถึงความรุนแรงของโรคและหันมาสนใจระมัดระวังตนเองและสัตว์เลี้ยงมากยิ่งขึ้น

สุนัขและแมวเป็นสัตว์เลี้ยงที่มีความใกล้ชิดกับคน มีทั้งที่เลี้ยงอยู่ในบ้านหรือเลี้ยงแบบบุฟเฟ่ต์ และมีจำนวนไม่น้อยที่เป็นสุนัขและแมวจรจัด ซึ่งมีจำนวนเพิ่มขึ้นจนก่อให้เกิดปัญหาสาธารณะและเป็นแหล่งพาหะโรคต่างๆ

รายละเอียดเพิ่มเติม

กรณีโรคพิษสุนัขบ้านั้นไม่ว่าคนหรือสัตว์ เมื่อแสดงอาการป่วยแล้วจะเสียชีวิตทุกราย จึงเป็นโรคที่ควรเฝ้าระวังและหาทางป้องกัน การควบคุมประชากรสุนัขและแมวถือเป็นปัจจัยหนึ่งที่ช่วยลดความเสี่ยงในการแพร่กระจายของโรค

จริงหรือไม่ที่สุนัขและแมวเป็นโรคพิษสุนัขบ้าเฉพาะหน้าร้อน ?

ความเชื่อดังกล่าวไม่เป็นความจริง เนื่องจากผลการชันสูตรโรคพิษสุนัขบ้าโดยห้องปฏิบัติการของกรมปศุสัตว์ที่กระจายอยู่ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศนั้น มีการตรวจพบเชื้ออยู่ตลอดทั้งปี

โรคพิษสุนัขบ้าเกิดจากสาเหตุอะไร ?

โรคพิษสุนัขบ้าเกิดจากเชื้อไวรัส (Rabies virus) เมื่อเชื้อออกจากร่างกายสิ่งมีชีวิตจะมีชีวิตอยู่ได้ไม่นาน ถูกทำลายได้ง่ายเมื่อถูกความร้อน แสงแดด หรือสภาวะแห้งแล้ง สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิดเป็นโรคนี้ได้ มีคนจำนวนไม่น้อยเข้าใจผิดว่าโรคพิษสุนัขบ้าติดคนโดยการถูกสุนัขหรือแมวที่มีเชื้อกัดเท่านั้น

จริงๆ แล้วเชื้อไวรัสพิษสุนัขบ้าสามารถแพร่กระจายสู่คนจากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดอื่นๆ ที่เป็นโรคและมีโอกาสสัมผัสใกล้ชิดกับคนได้ด้วย เช่น วัว ควาย แพะ แกะ สุกร ม้า ลิง ชะนี กระรอก และสัตว์ป่า เป็นต้น

โรคพิษสุนัขบ้าติดต่อจากสัตว์สู่คนได้อย่างไร?

สัตว์ที่เป็นโรคพิษสุนัขบ้าจะขับเชื้อออกมากับน้ำลายก่อนสัตว์แสดงอาการป่วย 3-5 วัน จนกระทั่งเสียชีวิต เชื้อจะเข้าสู่ร่างกายผ่านทางบาดแผลที่ถูกข่วน เลีย กัด รอยถลอกที่ผิวหนัง เยื่อบุตา จมูกและปาก

ระยะฟักตัวของเชื้อในสุนัขและแมวประมาณ 3-8 สัปดาห์ ในคนประมาณ 3 สัปดาห์ ถึง 4 เดือน บางรายอาจเร็วหรือช้ากว่านี้ อาจใช้เวลาเป็นปีจึงแสดงอาการ ซึ่งขึ้นกับหลายปัจจัย อาทิ ปริมาณเชื้อหรือตำแหน่งที่ได้รับเชื้อเข้าสู่ร่างกาย และพบว่าเชื้อจากสัตว์ป่ามีความรุนแรงมากกว่าสัตว์เลี้ยง

อาการของสุนัขและแมวที่เป็นโรคพิษสุนัขเป็นอย่างไร?

อาการในสุนัข มี 2 แบบ ได้แก่ แบบดุร้ายและแบบซึม

แบบดุร้าย สุนัขจะแสดงอาการทางประสาท กระวนกระวาย กัดทุกสิ่งที่ขวางหน้า ตัวแข็ง บางตัวล้มลงชักกระตุก ถ้ากักขังไว้จะกัดกรงจนเลือดไหลโดยไม่รู้สึกเจ็บปวด

อาการดังกล่าวนี้เรียกว่าระยะตื่นเต้นซึ่งจะแสดงอาการอยู่หลายวันจนเข้าสู่ระยะอัมพาต สุนัขจะมีน้ำ ลายไหล ไม่สามารถใช้ลิ้นได้ สุนัขอาจมีอาการขย้อนคล้ายมีอะไรติดคอ ล้มลง เป็นอัมพาตทั่วตัวและตายในที่สุด

แบบซึม สุนัขบ้าอาจแสดงอาการในระยะตื่นเต้นสั้นมากจนไม่ทันสังเกตเห็นอาการ แล้วแสดงอาการในระยะอัมพาต 

สุนัขบ้าที่แสดงอาการทั้ง 2 แบบ มักตายในเวลาไม่เกิน 10 วัน อาการที่พบในแมว แมวมักซุกตัวในมุมมืด มีอาการตื่นเต้น ดุร้าย กล้ามเนื้อสั่น น้ำลายไหล มีอาการทางประสาท จะกัดหรือข่วนอย่างรุนแรงไม่ปล่อย ขาเป็นอัมพาตและตายในที่สุด

ทำอย่างไรเมื่อถูกสุนัขบ้าหรือสงสัยว่าบ้ากัด?

รีบล้างแผลให้เร็วที่สุดด้วยสบู่และน้ำสะอาด หลายๆ ครั้ง เช็ดแผลด้วย Providone iodine หรือ แอลกอฮอล์ 70% หรือยาฆ่าเชื้อภายนอกชนิดอื่นๆ แล้ว รีบไปพบแพทย์เพื่อการป้องกันและการรักษาที่ถูกต้อง

เราจะหลีกเลี่ยงและป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าอย่างไร?

  1. นำสัตว์เลี้ยงไปฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าเมื่ออายุ12 สัปดาห์แล้วฉีดกระตุ้นที่ 2-4 สัปดาห์ หลังจากฉีดวัคซีนเข็มแรก ถ้าเป็นลูกสุนัขหรือแมวที่เกิดจากแม่ที่ไม่เคยฉีดวัคซีนพิษสุนัขบ้ามาก่อนให้พาไปฉีดตั้งแต่อายุ 2 เดือน และฉีดซ้ำที่อายุ 3 เดือน แล้วฉีดกระตุ้นตามกำหนด
  2. หากสัตว์เลี้ยงของเราโดนสัตว์ที่สงสัยว่าจะเป็นโรคพิษสุนัขบ้ากัดให้นำสัตว์ไปพบสัตวแพทย์เพื่อรับการฉีดวัคซีนกระตุ้นตามโปรแกรมเฝ้าระวังโรค และกักสัตว์เพื่อสังเกตอาการ
  3. ไม่ปล่อยสัตว์ออกมานอกบ้านโดยไม่ดูแลเพราะอาจได้รับเชื้อพิษสุนัขบ้าจากสุนัขจรจัดที่เป็นโรค
  4. คุมกำเนิดสุนัขและแมวหากไม่ต้องการเพิ่มจำนวน และไม่ควรนำมาปล่อยเป็นสุนัขและแมวจรจัด
  5. ไม่แหย่หรือรบกวนสัตว์ ไม่แยกสัตว์ที่กำลังกัดกันด้วยมือเปล่า อย่าปล่อยให้เด็กเล็กเล่นกับสัตว์โดยลำพัง และไม่ควรคลุกคลีกับสัตว์ที่ไม่มีเจ้าของ
  6. ไม่เก็บลูกสุนัขหรือแมวมาเลี้ยงเพราะอาจมีเชื้อพิษสุนัขบ้าติดมา
  7. เมื่อพบสัตว์ที่สงสัยว่าเป็นโรคพิษสุนัขบ้า ต้องรีบแจ้งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ สถานีอนามัย หรือสถานบริการสาธารณสุขทันที
  8. หมั่นสังเกตสัตว์แปลกปลอมที่เข้ามาในชุมชนเพื่อเป็นการเฝ้าระวังโรค

การฉีดวัคซีนโรคพิษสุนัขบ้า

การฉีดวัคซีนโรคพิษสุนัขบ้าให้กับสัตว์เลี้ยง นอกจากจะมีความจำเป็นในการป้องกันโรคแล้ว ยังเป็นหน้าที่ของเจ้าของตามพระราชบัญญัติโรคพิษสุนัขบ้า พ .ศ. 2535 ซึ่งระบุให้เจ้าของนำสุนัขและแมวไปรับการฉีดวัคซีนตามที่กำหนด และให้ติดเครื่องหมายประจำตัวและใบรับรองการฉีดวัคซีนไว้ ซึ่งสัตว์เลี้ยงควรได้รับการฉีดวัคซีนพิษสุนัขบ้า 2 ครั้ง ในขวบปีแรก และฉีดกระตุ้น 1 ครั้ง ทุกปี

ท่านสามารถนำสัตว์เลี้ยงไปฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าที่ใด?

  • โรงพยาบาลสัตว์เพื่อการสอนของสถาบันการศึกษาต่างๆ ที่มีคณะสัตวแพทย์ ซึ่งรวมถึงโรงพยาบาลสัตว์เพื่อการสอน คณะสัตวแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร
  • โรงพยาบาลสัตว์หรือคลินิกเอกชนใกล้บ้าน
  • กรณีหน่วยงานราชการ หรือสถาบันการศึกษาต่างๆ ที่มีคณะสัตวแพทย์ จัดโครงการออกหน่วยรณรงค์ฉีดวัคซีนโรคพิษสุนัขบ้าในพื้นที่ของท่าน สามารถนำสัตว์เลี้ยงเข้ารับการฉีดวัคซีนฟรีและขอคำปรึกษาหรือสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับโรคพิษสุนัขบ้าและการดูแลสุขภาพสัตว์เลี้ยงได้ด้วย

อ้างอิง: ผศ.สพ.ญ.ดร. อารยา สืบขำแพชร สาขาวิชาพรีคลินิก คณะสัตวแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร

รายละเอียดเพิ่มเติม