Lazada Flash Sale

โปรฟ้าผ่า!! รับซัมเมอร์

ลดแรงกว่า 90%* ช้อปเลย »

ปลากระโห้ สัตว์น้ำประจําจังหวัด กรุงเทพฯ ลักษณะ กินอะไร!

ปลากระโห้

ปลากระโห้ ชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Catlocarpio siamensis (Boulenger, 1898) อยู่ในสกุล Catlocarpio ซึ่งถูกจัดอยู่ในวงศ์ Cyprinidae มีชื่อสามัญ ภาษาอังกฤษ ว่า Siamese giant carp, Giant barb ชื่อท้องถิ่น ภาษาอีสานจะเรียก "ปลาคาบมัน" หรือ "ปลาหัวมัน" ภาษาเหนือเรียกว่า "ปลากะมัน" ที่สามเหลี่ยมทองคํา อําเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย เรียกว่า "ปลาสา"

ประวัติความเป็นมา ปลากระโห้เป็นปลานํ้าจืดไทยที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กรมประมงเพาะพันธุ์ปลาที่อยู่ในลํานํ้าดั้งเดิมเพื่ออนุรักษ์ฟื้นฟูจนผสมเทียมได้สําเร็จบริเวณเขื่อนชัยนาท แต่ก็ยังขาดแคลนพ่อแม่พันธุ์ จึงทรงมีพระบรมราชานุญาตให้กรมประมงทดลองใช้ปลากระโห้ในสระพระตําหนักจิตรลดารโหฐานมาเพาะพันธุ์ และประสบความสําเร็จในที่สุด

อาหารปลากระโห้ กินอะไร

ปลากระโห้ สัตว์น้ำประจําจังหวัด กรุงเทพฯ ลักษณะ กินอะไร

อาหารของปลากระโห้คือ แพลงก์ตอนและปลาขนาดเล็ก พืชต่างๆ เช่น สาหร่ายหรือเมล็ดพืช

รายละเอียดเพิ่มเติม

ลักษณะ ปลากระโห้

ปลากระโห้ เป็นปลานํ้าจืดขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง จัดเป็นปลาในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดอีกด้วย โดยเฉลี่ยมักมีขนาดประมาณ 1.5 เมตร แต่พบใหญ่สุดได้ถึง 3 เมตร หนักได้ถึง 150 กิโลกรัม

ปลากระโห้ มีลักษณะสําคัญคือ ส่วนหัวโต ปากกว้าง ตาเล็ก ไม่มีหนวด ปลาวัยอ่อนหัวจะโตมากและลําตัวค่อนไปทางหาง ทําให้แลดูคล้ายปลาพิการ ไม่สมส่วน ขอบฝาปิดเหงือกมนกลมและใหญ่กว่าปลาชนิดอื่นๆ ครีบหลังและครีบหางใหญ่ มีเกล็ดขนาดใหญ่ปกคลุมลําตัว บนเพดานปากมีก้อนเนื้อหนา เหงือกมีซี่กรองยาวและถี่มาก ตัวมีสีคลํ้าอมนํ้าเงินหรือนํ้าตาลเข้ม ครีบมีสีแดงเรื่อๆ ด้านท้องมีสีจาง

ถิ่นอาศัย

ปลากระโห้เป็นพันธุ์ปลาดั้งเดิมที่มีถิ่นอาศัยอยู่ในลํานํ้าเจ้าพระยา พบเฉพาะในแม่นํ้าสายใหญ่ ตั้งแต่แม่นํ้าแม่กลองถึงแม่นํ้าโขง แต่ปัจจุบันตามธรรมชาติมีจํานวนลดลง จึงจําเป็นต้องประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทั่วไปทราบประวัติความเป็นมาของปลากระโห้และตระหนักถึงความสําคัญของการอนุรักษ์ ปลาวัยอ่อนมักอยู่รวมเป็นฝูงในวังนํ้าลึก

ปัจจุบันปลากระโห้ลดจํานวนลงไปมากเนื่องจากปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อมและการถูกจับเป็นจํานวนมาก จัดอยู่ในสถานภาพเป็นปลาใกล้สูญพันธุ์ชนิดหนึ่ง ปัจจุบัน ปลาชนิดนี้สามารถเพาะพันธุ์ได้แล้วเป็นบางส่วนจากการผสมเทียม ในธรรมชาติจะแพร่พันธุ์ระหว่างเดือนกรกฎาคม-กันยายน ปริมาณไข่จะมีจํานวนมากนับล้านๆ ฟอง แต่ไข่ส่วนใหญ่และลูกปลาจะถูกปลาอื่นจับกินแทบไม่มีเหลือ

นอกจากนํามาทําเป็นอาหารโดยการปรุงสดแล้ว ยังสามารถเลี้ยงเป็นปลาสวยงามได้อีกด้วย ปลากระโห้ได้รับคัดเลือกเป็น สัตว์นํ้าประจํากรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2558.

อ้างอิง: คู่มือ สัตว์น้ำประจำจังหวัด กรมประมง

รายละเอียดเพิ่มเติม